สิ่งที่ควรรู้ ก่อนกู้ร่วมซื้อบ้าน

2,573 0

การกู้ร่วมซื้อบ้าน คือการร่วมเซ็นสัญญากู้เพื่อซื้อทรัพย์สินร่วมกัน เพื่อแสดงให้สถาบันการเงินเห็นว่ามีความสามารถทางการเงินที่จะผ่อนชำระเงินได้ตามสัญญา ส่งผลให้สถาบันการเงินอนุมัติการขอสินเชื่อง่ายขึ้น และยังอาจได้วงเงินเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ข้อดีนี้ทำให้ผู้วางแผนยื่นกู้นิยมใช้วิธีกู้ร่วมซื้อบ้านกันเป็นส่วนมาก ถึงอย่างนั้นก็ยังมีสิ่งที่ควรรู้ก่อนกู้ร่วมซื้อบ้าน ดังนี้

  • โดยปกติผู้กู้ร่วมจะต้องมีสายโลหิตเดียวกัน หรือมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เนื่องจากต้องรับภาระหนี้ และถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินร่วมกัน

  • ผู้ที่กู้ร่วมกันจะต้องรับภาระผ่อนด้วยกันจนครบกำหนด

  • ผู้มีชื่อในการกู้ร่วมกันจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ เท่าๆ กัน เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน, ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ ฯลฯ

  • สามีภรรยาไม่ต้องจดทะเบียนสมรสก็สามารถกู้ร่วมได้ แต่จะต้องแสดงหลักฐานการเป็นสามีภรรยา เช่น ภาพถ่ายงานแต่งงาน การ์ดแต่งงาน หนังสือรับรองบุตร เป็นต้น

  • คู่รักที่เป็นเพศเดียวกันสามารถกู้ร่วมกันได้

  • ผู้กู้ต้องชำระหนี้ให้ตรงและไม่ให้ขาด และต้องยอมรับภาระหนี้ในกรณีที่ผู้กู้อีกคนไม่สามารถชำระหนี้ได้

  • เมื่อผ่อนบ้านจนหมดกรรมสิทธิ์จะมี 2 แบบ คือใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือ ผู้กู้ร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ซึ่งส่วนมากจะเป็นแบบที่ 2 ทำให้เมื่อต้องการขายผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องยินยอมพร้อมใจกัน

  • หากผู้กู้ร่วมกับเราเสียชีวิตทายาทจะเป็นผู้รับช่วงต่อการผ่อนชำระ แต่ทายาทต้องบรรลุนิติภาวะและผ่านการประเมินจากธนาคารว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ร่วม หากทายาทยังไม่บรรลุนิติภาวะ สามารถหาผู้กู้ร่วมรายใหม่ได้ โดยต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกัน

  • การถอนชื่อกู้ร่วมสามารถทำได้ โดยธนาคารจะพิจารณาความสามารถของผู้กู้ที่เหลือ หากรายได้ไม่เพียงพอต่อการผ่อนชำระ จำเป็นต้องหาผู้กู้ร่วมคนอื่นแทน ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาจากธนาคารด้วยเช่นกัน หากไม่ผ่านธนาคารมีสิทธิ์ไม่อนุญาตได้

จะเห็นว่าแม้การกู้ร่วมซื้อบ้านจะช่วยให้คุณมีโอกาสผ่านการอนุมัติค่อนข้างมาก แต่ก็ต้องดูในรายละเอียดต่างๆ ให้รอบคอบด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นหาข้อมูลและเตรียมความพร้อมให้ดี แล้วคุณจะยื่นกู้ได้ผ่านฉลุย

Click icon to remove from or add to favorite list
Click to choose and click "Compare" button