เหตุผลที่ควรรู้! ทำไมต้องเลือกซื้อ NPA ผ่าน ธอส.
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนหรือต้องการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะซื้อบ้าน คอนโด ที่ดิน ควรทำความรู้จัก NPA ธอส. ไว้เพื่อที่จะได้ทรัพย์คุณภาพดีราคาไม่แพงด้วย
ไขข้อสงสัย NPA ธอส. คืออะไร?
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (Government Housing Bank) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ธอส.’ เป็นสถาบันการเงินในภาครัฐวิสาหกิจ ที่ช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ประชาชน ผ่านบริการสินเชื่อเพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น
ส่วน NPA ย่อมาจาก Non-Performing Asset เรียกว่า ‘ทรัพย์สินรอการขาย’ คือ อสังหาริมทรัพย์มือสองที่หลุดจำนองจากลูกหนี้นำมาเป็นหลักค้ำประกันในการกู้ยืม แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด เมื่อเข้าสู่กระบวนการทางด้านกฎหมายจนถึงที่สุดแล้ว โดยธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ไปประมูลซื้อทรัพย์มาเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารซึ่งก็คือ ธอส. ไปประมูลซื้ออสังหาริมทรัพย์รายการนั้นๆ มาเป็นของ ธอส. และเรียกกันว่า ‘NPA ธอส.’ นั่นเอง
รู้ไว้ก่อน! NPA ธอส. ดีอย่างไร?
1.ความน่าเชื่อถือ ธอส.มีฐานการเงินที่มั่นคง มีโครงการสินเชื่อ และมาตรการที่น่าสนใจ จึงเข้าถึงประชาชนมากขึ้น
2.ราคาถูกกว่าท้องตลาด อย่างที่กล่าวไว้ว่า NPA เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการหลุดจำนอง จึงเรียกได้ว่าเป็นทรัพย์มือสอง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด หรือที่ดินก็จะมีราคาถูกกว่าตามท้องตลาด สามารถได้มาครอบครองง่ายขึ้น
3.ทำเลดี ถูกใจ สามารถเลือกทำเลได้ถูกใจตามที่ชอบ บางแห่งใกล้สถานีรถไฟฟ้าทำให้เดินทางได้สะดวกขึ้น
4.พร้อมเข้าอยู่ บ้าน-คอนโด NPA ส่วนใหญ่จะมีการตกแต่งใหม่ หรือถูกรีโนเวทแล้ว จึงพร้อมเข้าอยู่อาศัยได้เลย บางแห่งมาพร้อมเฟอร์นิเจอร์จากเจ้าของเดิมด้วย
5.แต่งบ้านได้ตามชอบ เมื่อบ้านพร้อมเข้าอยู่แล้ว ยังสามารถแต่งบ้านได้ตามใจชอบ ตกแต่งนิด ปรับมุมหน่อย ก็ได้บ้านสวยเหมือนใหม่สไตล์คุณ
6.สินเชื่ออนุมัติง่าย ดอกเบี้ยต่ำ เหมาะสมกับคุณ หากจำเป็นต้องกู้สินเชื่อจากธอส. จะทำได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นทรัพย์จากสถาบันการเงิน ธอส. โดยตรง และสามารถเลือกสินเชื่อได้หลากหลายตามความเหมาะสม
7.เหมาะกับการลงทุน เนื่องจาก NPA นั้นราคาต่ำมาก หากได้มาเพื่อรีโนเวท ปรับปรุง ตกแต่งเพิ่มเติม สามารถขายต่อง่ายได้ราคาดีอย่างแน่นอน
8.ชำระค่างวดผ่านออนไลน์ หากซื้อทรัพย์ NPA ธอส. เพิ่มความสะดวกสบายได้ด้วยการชำระเงินดาวน์ทรัพย์ผ่านออนไลน์ สะดวกและรวดเร็วขึ้น
5 เหตุผล ทำไมควรซื้อบ้านกับ ธอส.
ข้อคิดก่อนตัดสินใจซื้อ NPA
NPA ธอส. หรือบ้านมือสอง แม้จะมีข้อดีตามที่กล่าวมา แต่ทุกทรัพย์ผ่านการอยู่อาศัยมาแล้วทั้งสิ้น ฉะนั้นควรไปดูทรัพย์ ณ สถานที่จริงเพื่อตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ของบ้านให้ดีเสียก่อน เช่น ประวัติความเป็นมา อายุการใช้งาน โครงสร้างภายนอกและภายในบ้าน และเช็กว่าผู้อาศัยเดิมย้ายออกหรือยัง? เพื่อความสบายใจ ไม่ต้องกังวลและเสียเวลาในการเข้าอาศัยด้วย
กับดักบ้านราคาถูก สายกู้ต้องไม่พลาด
ขั้นตอนดำเนินการเมื่ออยากซื้อ NPA ธอส.
1. หาบ้านมือสอง หรือ NPA ธอส. ผ่านเว็บไซต์หลักของธอส. หรือเว็บไซต์นี้ คลิก!
2. เมื่อได้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกใจให้แจ้งความสนใจทรัพย์หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรงตามประกาศ
3. สอบถามรายละเอียดและข้อมูลที่ต้องการทราบ
4. เตรียมเอกสารเพื่อยื่นกู้สินเชื่อ
• สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
• สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน (ฉบับจริง)
• รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
• หลักทรัพย์อื่นที่เราเป็นเจ้าของ เช่น ที่ดินหรือคอนโด เป็นต้น
• ข้อมูลโครงการบ้านจัดสรรหรือบ้านหลังที่เราต้องการซื้อ
รู้ไว้! ขั้นตอนกู้สินเชื่อ เพื่อซื้อบ้านผ่านธนาคาร ฉบับรวบรัด
5. ตรวจสอบระบบภายในบ้านก่อนโอนกรรมสิทธิ์
• ระบบโครงสร้างบ้าน
• ระบบสาธารณูปโภคภายในบ้าน
• ระบบฝ้าเพดานและหลังคา
• บริเวณโดยรอบบ้าน
ซื้อบ้านมือสอง ต้องตรวจเช็กงานระบบอะไร อย่างไรบ้าง
6. เตรียมค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ เพิ่มเติม โดยคำนวณตามราคาประเมินตัวบ้าน
• ค่าธรรมเนียมทำนิติกรรม
• ค่าอากรแสตมป์
• ค่าจดจำนอง
• ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
*ในส่วนนี้สามารถขอสินเชื่อกับธนาคารออกเช็คเพื่อใช้จ่ายก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ได้
การโอนกรรมสิทธิ์บ้าน ขั้นตอนสำคัญในการ “ซื้อบ้านมือสอง”
คำนวณสินเชื่อกู้ซื้อ NPA ธอส.
อย่างที่ทราบกันดีว่าการยื่นกู้สินเชื่อบ้านมือสองนั้น จะได้เงินกู้เพียง 90 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ควรคำนวณสินเชื่อในการผ่อนชำระผ่านเว็บไซต์ ธอส. หรือผ่านเว็บไซต์นี้ (เพียงเลือกทรัพย์ที่คุณถูกใจ) เพื่อเปรียบเทียบราคา จำนวนเงินที่ขอกู้ ระยะเวลาการกู้ และอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับตัวเองก่อนตัดสินใจซื้อบ้านมือสอง หรือทรัพย์ NPA ธอส.
คำนวณสินเชื่อ กู้ซื้อบ้านกับ ธอส.
เมื่อทราบข้อควรรู้แล้ว ให้บ้านมือสอง หรือ NPA ธอส. เป็นหนึ่งในตัวเลือก เพื่อสานฝันให้คนอยากมีบ้านเป็นเรื่องง่าย สุดท้าย อย่าลืมเช็กข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นเพิ่มเติม และศึกษาสินเชื่อที่ต้องการยื่นกู้อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน