ผุด แลนด์บริดจ์ ดึงลงทุนอีอีซี
“คมนาคม” ทุ่ม 67 ล้าน จ้างศึกษา “แลนด์บริดจ์” เชื่อมขนส่งอ่าวไทย-อันดามัน หวังหนุนลงทุนอีอีซี ขยายขีดความสามารถ-ดันเศรษฐกิจไทยสู่เวทีโลก คาดศึกษาแล้วเสร็จภายใน 1 ก.ย.66
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ในวันที่ 1 มี.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จะเป็นประธานพิธีลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเหมาะสม ออก แบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รวมถึง วิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนา การลงทุนโครงการพัฒนาโครง สร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐ กิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขน ส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ
ประกอบด้วย บมจ.ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์, บริษัท ดีเคด คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด, บมจ.อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป, บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด วงเงินกว่า 67.8 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 30 เดือน หรือเริ่มต้นสัญญาวันที่ 2 มี.ค.2564-วันสิ้นสุดสัญญา วันที่ 1 ก.ย.66 อย่างไรก็ตามภายในต้นปี 2565 จะออกแบบเบื้องต้น แล้วเสร็จ พร้อมกำหนดกรอบวงเงินลงทุน หลังจากนั้นจะเป็น การเตรียมเอกสารทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และเตรียมเอกสารสำหรับการประกวดราคา
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาประ เทศที่จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP ทั้งโครงการ วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐบาล ประกอบด้วย สร้างท่าเรือน้ำลึกระนองและท่าเรือชุมพรแห่งใหม่, พัฒนา แลนด์บริดจ์เชื่อมท่าเรือชุมพร และระนอง โดยสร้างมอเตอร์ เวย์ขนานไปกับรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงพานทอง-หนองปลาดุก และรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ตามแผนจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2566-2570
อย่างไรก็ตาม โครงการแลนด์บริดจ์ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะช่วยขยายขีดความสามารถการพัฒนาทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ สามารถเชื่อมประเทศไทยกับกลุ่มประเทศในอาเซียน จีน อินเดีย ตลอดจนเชื่อมโยงกลุ่มประเทศตะวันออกไกลเข้ากับกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและสหภาพยุโรปให้สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนไทย สู่เวทีการค้าโลกได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์และพัฒนาเมืองในภาคใต้ ให้ต่อเชื่อมกับการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกที่กำลังเดินหน้าการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
ทั้งนี้ ในส่วนของรูปแบบการพัฒนาแลนด์บริดจ์นั้น จะประกอบไปด้วย ท่าเรือพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบริเวณปลายทั้ง 2 ด้านของฝั่งทะเล จ.ระนอง และ จ.ชุมพร โดยมีการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าเพื่อเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 แห่งด้วยทางรถไฟและทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) คู่ขนานบนเส้นทางเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินกับภาคประชาชน ซึ่งในขณะนี้ กรมทางหลวง (ทล.) อยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อออกแบบโครงการมอเตอร์เวย์เช่นกัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์