CPN ทุ่ม 3 พันล.ผุดศูนย์การค้า ดันเมืองรองพื้นที่ศก.แห่งใหม่
นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า กลุ่มเซ็นทรัลมีแผนการลงทุน 5 ปี (2566-2570) ของ บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) กว่า 135,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย ปีละ 30,000 ล้านบาท ครอบคลุม 30 จังหวัด ภายใต้แนวคิด Growth for the Country, Great for Local Communities
ด้วยการบุกเบิกเมืองศักยภาพ คือ เซ็นทรัล…สร้าง สร้างเมืองให้เข้มแข็ง ขยายโครงการต่างๆ ภายใต้การลงทุนที่มุ่งเน้นผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างรอบด้าน (Impact Investment) โดยกระจายการเติบโตไปสู่พื้นที่ที่มีศักยภาพ หรือ เมืองรอง ชูบทบาทการเป็น Central of Life ศูนย์กลางของชีวิต เร่งเครื่องสร้าง และพัฒนาย่านที่มีคุณภาพสู่แลนด์มาร์ก แห่งใหม่อันโดดเด่น เพื่อเป็นแม่เหล็กภาคท่องเที่ยวและบริการใหม่
เดินหน้าขยายธุรกิจปี 66-67
ทั้งนี้จะมีการขยายธุรกิจต่างๆ ในช่วง ปี 2566-2567 อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ จังหวัดนครพนม ด้วยงบลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท เตรียมเปิดตัวในไตรมาส 4/2567 ติดชายแดนเมืองท่าแขกของ สปป.ลาว โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 รองรับการเดินทางและการขนส่งด้านการค้าและการท่องเที่ยว เชื่อมโยง ระหว่างไทย ลาว เวียดนาม และ จีนตอนใต้ โดยนครพนมมีนักท่องเที่ยวราว 1.5 ล้านคน ต่อปี สร้างรายได้ภาคท่องเที่ยวกว่า 2,200 ล้านบาท
และศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ จังหวัดหนองคาย งบลงทุน 1,000 ล้านบาท เตรียมเปิดตัวในปี 2567 โดยจังหวัดหนองคายเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเมืองชายแดนติดกับนครหลวงเวียงจันทน์และแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว มีจุดผ่านแดนด่านสะพานมิตรภาพไทยลาว และเป็นประตูการค้าสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน อีกทั้งมีแผนพัฒนาระบบขนส่งให้เป็น Transportation Hub ทั้งทางบก ทางราง รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ ไทย-ลาว-จีน-คุนหมิง โดยหนองคายมีมูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวสูงสุดของ ประเทศไทย ปีละไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นล้านบาท มีนักท่องเที่ยวกว่า 2 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้ภาคท่องเที่ยวกว่า 3,350 ล้านบาท
“การลงทุนของกลุ่มเซ็นทรัลในจังหวัด นครพนม และ หนองคาย จะช่วยรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและผลักดันการขยายตัวทางการค้าการลงทุน การบริการ การท่องเที่ยว อีกทั้งส่งเสริมการเกษตรสมัยใหม่ สนับสนุนการจ้างงาน และ ยกระดับความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน” นายทศ กล่าว
ส่วนภาคกลาง สร้างศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์ (ไตรมาสแรกปี 2567) ตั้งอยู่ บนแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจแนวเหนือใต้ (North-South Economic Corridors (NSEC) ที่จะร่วมเติมเต็มศักยภาพและ เสริมความแข็งแกร่งให้กับจังหวัดนครสวรรค์ ควบคู่กับแผนของภาครัฐที่มีแนวโน้มเกิด ขึ้นในอนาคต เช่น รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ, รถไฟทางคู่สายนครสวรรค์-แม่สอด เป็นต้น
โดยจังหวัดนครสวรรค์ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย-จีน รวมทั้งเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่อีกด้วย, ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครปฐม (ไตรมาส 2/67) เป็นการขยายไป ภาคตะวันตกโดยมีนครปฐมเป็นประตูเชื่อม ไปยังจังหวัดใกล้เคียง คือ ราชบุรี และกาญจนบุรี เป็นศูนย์กลางของเมืองรองที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้โดยไม่ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ
สร้างหัวเมืองรองเป็นศูนย์กลาง
เมื่อพื้นที่หัวเมืองหรือเมืองรองเกิด การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ จะกลาย เป็นศูนย์กลางหรือเดสติเนชั่นแห่งการช็อปปิ้ง อาหาร แบรนด์ดัง แฟชั่น และการ ใช้ชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตั้งแต่ระดับฐานราก ชุมชน เอสเอ็มอี และผู้ประกอบการขนาดใหญ่ เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ ทำให้ผู้คนทุกระดับมีรายได้ในการจับจ่ายใช้สอย ธุรกิจมี สภาพคล่องที่ดี อีกทั้งสร้างโมเมนตัมการ ใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวให้โตอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การสะพัดของเม็ดเงินตลอดอีโคซิสเต็ม ในระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้กลุ่ม เซ็นทรัล คาดว่าภายใน 5 ปีจะมีพนักงานประจำ รวม มากกว่า 100,000 คน และมีการจ้างงาน มากกว่า 300,000 ตำแหน่งทั่วประเทศ
ยุทธศาสตร์การลงทุนของกลุ่มเซ็นทรัล มีเป้าหมายในการร่วมพัฒนาประเทศ และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ มีความเข้มแข็ง ยกระดับประเทศให้มีรายได้ ต่อครัวเรือนให้สูงขึ้น ต่อยอดให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับมหภาค อีกทั้ง ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ก้าวไป ข้างหน้าและสร้างความแตกต่างด้วยแม่เหล็ก ที่เป็นศิลปะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของแต่ ละท้องถิ่นในรูปแบบ Community-Based Tourism and Sustainable Tourism ปั้น เมืองรองให้โดดเด่น กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ด้วยงบสนับสนุนชุมชนทั่วประเทศกว่า 400 ล้านบาทต่อปี ปักธงไทยเป็นจุดหมาย ปลายทางระดับโลก
ที่มา: หนังสือพิมพ์ทันหุ้น