COVID-19 กระทบอสังหาฯไทยรุนแรง
อสังหาริมทรัพย์ ศูนย์ข้อมูลฯ ระบุไวรัส COVID-19 กระทบ อสังหาฯไทยรุนแรง คาดโอนกรรมสิทธิ์ปี 63 ติดลบ 11.1-16.7% ขณะที่สต๊อกที่อยู่อาศัยเหลือขายทั่วประเทศแตะ 3 แสนหน่วย ปัญหาใหญ่ผู้ประกอบการท่ามกลางโรคระบาด-เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ด้านคอลลิเออร์สเผยคอนโดฯเปิดใหม่ลดฮวบ 60.2% อัตราขายแค่ 31% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ส่งผลอย่างมากต่อทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากต่อประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นภาคเศรษฐกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก คำถามที่อยู่ในใจของเรา คือ “แล้วภาคอสังหาริมทรัพย์จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร” ไม่มีใครทราบคำตอบที่แน่นอน แต่ในเบื้องต้นเราลองมาพิจารณาข้อมูลล่าสุดของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์กัน เนื่องจากจะเป็นโจทย์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนภาคอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยในปี 2563
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศของศูนย์ข้อมูลฯ ที่สรุปตัวเลขเบื้องต้นออกมาพบว่า “ยอดขายขายได้ใหม่” ในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ขายได้ประมาณ 54,000 หน่วยลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ -30% และยังพบว่า มีการปรับตัวลดลงของ “อัตราการดูดซับ” เมื่อเทียบกับช่วง เวลาเดียวกันของปีก่อน โดยลดลงเหลือ 2.54% จาก 4.11% ในปีก่อน ภาวะเช่นนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า สถานการณ์ด้านการขายอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยครึ่งหลังของปี 2562 มีการชะลอตัวที่ชัดเจน หลังจากที่มีการใช้มาตรการ Macroprudential ตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 ก็มีภาวะที่ชะลอตัวเช่นกัน ส่งผลให้สถาบันการเงินมีการเข้มงวดการพิจารณาการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น
ประเด็นที่มีการจับตามอง คือ ปริมาณที่อยู่อาศัยเหลือขาย โดยผลการสำรวจพบว่า “หน่วยที่อยู่อาศัย เหลือขาย” ทั่วประเทศ ณ สิ้นปี 2562 มีประมาณ 300,000 หน่วย ซึ่งมีจำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนประมาณ 10% ทั้งที่การเปิดตัวของโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในปี 2562 ลดลงกว่าปีก่อนหน้าถึง -20% นับว่าเพิ่มมากกว่าที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้คาดไว้ ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะการชะลอตัวของตลาด
หากพิจารณาแยกสถานะของการก่อสร้างของที่อยู่อาศัยเหลือขาย พบว่า มี “หน่วยเหลือขายที่สร้างเสร็จแล้ว” ประมาณ 68,000 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนประมาณ 12% แต่หากมองแยกประเภทที่อยู่อาศัย จะเห็นได้ว่ามี “อาคารชุดเหลือขายที่สร้างเสร็จแล้ว” เพียงประมาณ 30,000 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนเพียง 2% ซึ่ง 2 ใน 3 อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จึงอาจกล่าวได้ว่าไม่ผิดปกติอะไร โดยอาคารชุดที่สร้างเสร็จเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากโครงการที่ทยอยก่อสร้างเสร็จตามแผน ดังนั้นจึงอาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า หน่วยเหลือขายที่สร้างเสร็จแล้วที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านแนวราบรวม 38,000 หน่วย มีการเพิ่มสูงกว่าปีก่อนถึง 21% ตามกระแสของการพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันที่ผู้ประกอบการ ทุกค่ายมุ่งไปสู่ Real Demand กันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับตัวเลขนี้ในการวางแผนทางธุรกิจอย่างมาก เพราะจะกระทบต่อสภาพคล่องและต้นทุนในการประกอบการที่ชัดเจนขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม เรายังต้องให้ความสำคัญกับ “หน่วยเหลือขายที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง” อีกประมาณ 98,000 หน่วย ที่เป็นอาคารชุดประมาณ 47,000 หน่วย ซึ่งประมาณ 3 ใน 4 อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล และบ้านแนวราบอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลและบ้านแนวราบประมาณ 51,000 หน่วย ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ในซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยหน่วยเหลือขายเหล่าโดยหน่วยเหลือขายเหล่านี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และกำลังจะเสร็จในอีก ลังจะเสร็จในอีก1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งผู้ประกอบการต้องทำการขายให้ซึ่งผู้ประกอบการต้องทำการขายให้ได้ก่อนที่จะก่อสร้างเสร็จ และนี่คืออีกหนึ่งภาระและนี่คืออีกหนึ่งภาระที่หนักอึ้งของผู้ประกอบการภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันที่มีโรคระบาด และภาวะเศรษฐกิจและภาวะเศรษฐกิจที่กำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย
ในภาวะที่ดูเหมือนว่าการขายที่อยู่อาศัยในปัจจุบันซบเซาลงอย่างมาก แต่ยังมีสัญญาณที่ดีในเรื่อง การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ในปี 2562 ตัวเลขหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศยังคงขยายตัวอยู่ประมาณ 2.7% และมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงถึง 4.3% โดยเป็นการขยายตัวของหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์จากบ้านแนวราบ ถึง 4.4% ส่วนอาคารชุดแทบจะไม่ลดลงเลย คือ ลดลงเพียง-0.6% เท่านั้น
สำหรับยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่หรับยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในเดือนมกราคม 2563 ก็ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของ ก็ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมียอดลดลงเพียง -0.5% เท่านั้น เท่านั้นแต่มีมูลค่าสูงขึ้น 3.9% โดยหน่วยโอนโดยหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนวราบขยายตัว 2.8% แต่หน่วยการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดมีการลดลง -6.9% ซึ่งส่วนใหญ่ลดลงจากการโอนกรรมสิทธิ์ของคนต่างชาติเนื่องจากภาวะโรคระบาดไวรัส COVID-19 สิ่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นได้ว่า การโอนกรรมสิทธิ์ของคนในประเทศของเรายังแข็งแรง และจะเป็นแรงขับเคลื่อนภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยต่อไป
คาดปี 63 ยอดโอนฯลด -11.1-16.7%
สำหรับสถานการณ์โอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ทั่วประเทศในภาพรวมทั้งปี 2563 ซึ่งได้รับผลกระทบ ที่รุนแรงจากไวรัส COVID-19 และส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ อาจส่งผลให้ภาพรวมหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ฯ ลดลงในช่วงประมาณ 333,000-312,000 หน่วย หรือลดลง -11.1% ถึง -16.7% และมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ฯ ลดลงในช่วงประมาณ 755,000-726,000 ล้านบาท หรือลดลง -13.8% ถึง -17.1% ซึ่งจะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ฯที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อนหน้า แม้ว่ายังคงมีนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ในการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองให้เหลือประเภท ละ 0.01% อยู่ถึงปลายปี
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารัฐบาลจะออกนโยบายและมาตรการใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาหลังจากภาวการณ์แพร่ระบาดในภาวะวิกฤตในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน2563ได้ผ่านไป-เมษายน 2563 ได้ผ่านไป ซึ่งศูนย์ข้อมูลฯขอเสนอแนวทางเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมโดยเห็นว่า การสร้าง Demand ใหม่ๆ เข้ามาหนุนว่าการสร้างDemand เสริมตลาดเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยส่งเสริมเสริมตลาดเป็นเรื่องที่สํให้กลุ่มที่มีกํให้กลุ่มที่มีกำลังซื้อและมีเงินเก็บนำเงินออกมาลงทุนในการซื้อที่อยู่อาศัยในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำมากในปัจจุบัน พร้อมไปกับที่ดอกเบี้ยต่ำมากในปัจจุบันการเสริมสร้างแรงจูงใจและความมั่นใจให้กับมั่นใจให้กับ Real Demands เข้ามาซื้อที่อยู่อีกครั้งหนึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเป็นการระบาย Supply ส่วนเกินออกไปได้เร็วขึ้น และการเร่งการกระตุ้นให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยชาวไทย โดยพิจารณาเลื่อนการใช้มาตรการ Macroprudential หรือมาตรการ LTV และสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของประชาชนให้ง่ายขึ้นนับเป็นปัจจัยสำคัญ และสำหรับกลุ่มผู้ซื้อชาว ต่างชาติอาจพิจารณาเร่ง การโอนกรรมสิทธิ์โดยใช้มาตรการจูงใจในด้านวีซ่าเพื่อการอยู่อาศัยอยู่อาศัย และการลดค่าธรรมเนียมบางประการในช่วงสั้นๆ ประกอบกัน
Q1 คอนโดฯเปิดใหม่ลดฮวบ 60.2%
นายภัทรชัย ทวีวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ท่ามกลางปัจจัยลบต่างๆ ที่ยังคงเข้ามากระทบภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรก ของปี 2563 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่แพร่ระบาดหนักในประเทศจีนซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่สำคัญของตลาดคอนโดมิเนียมในประเทศไทย และอีกหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยที่สถานการณ์ยังคงทวีความรุนแรงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวกำลังซื้อในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่จะเข้ามากระทบ ภาพรวมของภาคอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมเป็นอย่างมาก แม้ว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะปรับลดความเข้มงวดของมาตรการควบคุม LTV (loantovalue ratio) ในบางข้อลง เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและกระตุ้นกำลังซื้อให้ตื่นตัวมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกปี 2563 ที่ ผ่านมา ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกที่จะชะลอเปิดขายโครงการใหม่ลงเป็นจำนวนมาก เน้นนำโครงการเก่าที่เหลือขายที่มีการก่อสร้างเสร็จมาลดราคาเพื่อเป็น การกระตุ้นยอดโอนกรรมสิทธิ์และเพื่อการรับรู้รายได้ โดยพบว่าบางรายลดราคามากว่า 30% เพื่อระบาย สต๊อก บางรายนำโครงการที่เคยพรีเซลไปแล้วกลับมา พรีเซลใหม่อีกครั้งและปรับลดราคาลงมา
นอกจากนี้ยังพบว่า มีการปรับรูปแบบโครงการใหม่ด้วยการลดราคาลงจากที่ขายไปในช่วงก่อนหน้า ปรับลดสเปกโครงการลง เพื่อให้โครงการสามารถแข่งขันได้ในภาวะที่ตลาดยังคงชะลอตัวและกำลังซื้อค่อนข้างจำกัด บางรายเลือกที่จะเสนอขายโครงการทั้งที่อยู่ระหว่างการขายและการพัฒนาให้ผู้ประกอบการรายใหม่นำไปพัฒนาต่อไป หรือบางรายเสนอขายยกชั้นหรือยกตึกให้กับกลุ่มนักลงทุนทั้งผู้ประกอบการชาวไทยและนักลงทุนต่างชาติในราคาที่ถูกลง
แนะยืดโอน 3-6 เดือนหวั่นลูกค้าทิ้งดาวน์
สำหรับโครงการคอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ผู้ประกอบการต้องพบกับความยากลำบากในการเรียกลูกค้าที่เคยซื้อไปในช่วงก่อนหน้าเข้ามาโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งผู้ซื้อส่วนใหญ่เองก็เผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง บางรายได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ธุรกิจต้องหยุดกิจการชั่วคราว หรือต้องปิดกิจการลง บางรายต้องถูกเลิกจ้าง หรือการลาแบบไม่รับค่าจ้างชั่วคราว ซึ่งกลุ่มผู้ซื้อเหล่านี้อาจจะไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดหรือสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ในช่วงเวลาที่กำหนดได้ ซึ่งผู้ประกอบการควรยืดระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ออกไปขั้นต่ำคือ 3-6 เดือนทั้งในส่วนของกลุ่มผู้ซื้อชาวไทยและต่างชาติ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของกลุ่มลูกค้า และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทิ้งดาวน์ เพราะหากผู้ประกอบการไม่ขยายเวลาออกไปและทำการยึดยูนิตเหล่านั้นกลับเข้ามาขายใหม่อีกครั้ง จะส่งผลให้อุปทานเหลือขายในตลาดเพิ่มสูงขึ้นอีก ในภาวะที่กำลังซื้อชะลอตัวและอัตรการ ดูดซับที่ค่อนข้างต่า
ไตรมาสแรกคอนโดฯเปิดใหม่ลดฮวบ 60.2%
สำหรับภาพรวมของตลาดคอนโดมิเนียมเปิด ขายใหม่ในกรุงเทพมหานครในช่วงไตรมาสที่ 1/2563 ที่ผ่านมา มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่เพียงแค่ 16 โครงการ 5,880 หน่วยเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นอุปทาน เปิดขายใหม่ที่น้อยที่สุดในช่วง 8 ปี หรือ 32 ไตรมาส ที่ผ่านมาหลังจากอุทกภัยในประเทศไทย ปี 2554 ด้วยมูลค่าการลงทุนเพียงแค่ 19,540 ล้านบาท ลดลงจากช่วงไตรมาสก่อนหน้าถึง 8,909 หน่วย หรือคิดเป็น 60.2% และลดลงจากช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีก่อนหน้าที่เปิดขายประมาณ 8,953 หน่วย หรือประมาณ 34.3% ซึ่งพบว่า มูลค่าการลงทุนลดลงกว่า 25,892 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า นับจากช่วงกลางเดือนมกราคม 2563 เริ่มเห็นว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เริ่มประกาศแผนลงทุนพัฒนาโครงการในปี 2563 ซึ่งส่วนใหญ่ปรับลดโครงการคอนโดมิเนียมลง เน้นพัฒนาโครงการแนวราบในพื้นที่หัวเมืองรอง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และยังพบว่าผู้ประกอบการบางรายไม่พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในปีนี้และหันมาเน้นการระบายสต๊อก
สำหรับคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ในไตรมาส 1/2563 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอกมากที่สุดจำนวน 4 โครงการ ประมาณ 2,398 หน่วย หรือประมาณ 41% รองลงมาคือพื้นที่บริเวณพื้นที่บริเวณรอบเมืองด้านทิศตะวันออก (ถนนสุขุมวิท) จำนวน 4 โครงการ ประมาณ 1,151 หน่วย หรือประมาณ 20% ถัดมาคือพื้นที่รอบเมืองทางทิศเหนือ (รัชดาฯ, พหลโยธิน) จำนวน 3 โครงการ ประมาณ 800 หน่วย หรือประมาณ 13.6%
ยอดขายคอนโดฯต่ำสุดในรอบ 10 ปี
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โคโรนา (COVID-19) ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในขณะนี้มีผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยในปี 2563 เป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวกำลังซื้อในภาคอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมอย่างชัดเจน แม้ว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะปรับลดความเข้มงวดของมาตรการ LTV ในบางข้อเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียสและกระตุ้นกำลังซื้อให้ตื่นตัวมากขึ้น ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2563 โครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวใหม่มียอดขายค่อนข้างต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เป็นอย่างมาก โดยมีอัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 31% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีหรือในรอบ 40 ไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการบางรายเลือกที่จะเลื่อนการเปิดตัวโครงการในช่วงนี้ออกไปหรือเลือกที่จะเปิดขายเฉพาะออนไลน์เท่านั้น
สำหรับคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในช่วงไตรมาส ที่ 1 ปี 2563 กว่า 54% หรือประมาณ 963 หน่วยอยู่ในช่วงระดับราคา 100,001-200,000 บาทต่อตารางเมตร ตามมาด้วยช่วงระดับราคา
บาทต่อ ตารางเมตร ที่ประมาณ 8% นอกจากอัตราการขายเฉลี่ยของโครงการคอนโดมิเนียมที่ปรับลดลงกว่ามากกว่า 18% จากช่วงไตรมาสก่อนหน้าและปรับลดลงกว่า 15% จากในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าแล้ว ยังพบว่า อัตราดูดซับเฉลี่ยโดยภาพรวมของตลาดคอนโดมิเนียมก็ปรับตัวลงเช่นเดียวกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความสามารถในการขายของผู้ประกอบการช้าลง ส่งผลให้คอนโดมิเนียมที่ยังคงค้างอยู่ในตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร อีกกว่า 60,000 หน่วย ต้องใช้เวลาในการระบายออกช้าออกไป ซึ่งคาดการณ์ว่าจะต้องใช้เวลาอีกกว่า 30 เดือนในการระบายสต๊อกเหลือขายในส่วนนี้
ราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 1/2563 อยู่ที่ประมาณ 118,580 บาทต่อตารางเมตร ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากในช่วงไตรมาสก่อนหน้าประมาณ 4.5% เนื่องจากในไตรมานี้มีการเปิดขายคอนโดมิเนียมในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา มีบางโครงการโซนสุขุมวิท (เอกมัย ) และทำเลย่านซอยรางน้ำ ที่มีระดับราคาขายเฉลี่ยสูงกว่า 200,000 บาทต่อตารางเมตร และอีกประมาณ 40% อยู่ในช่วงราคา 100,001-150,000 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการคอนโดมิเนียมที่ใกล้กับสถานี BTS และ MRT ทั้งในส่วนของแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบันและแนวเส้นทางใหม่ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยในช่วงที่ผ่านมา พบว่าบางคอนโดมิเนียมบางโครงการที่เปิดขายในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีบางยูนิตอยู่ในช่วงราคาขายเฉลี่ยต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตรในพื้นที่ย่านจรัญสนิทวงศ์แนวเส้นทางรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินค่อนข้างได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ซื้อเป็นจำนวนมากสวนทางกับภาพรวมตลาดที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์บางรายยังคงมีแผนที่จะพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในช่วงราคาขายเฉลี่ยต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตร ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและในพื้นที่ปริมณฑล เพื่อดึงดูดกำลังซื้อในกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ และกลุ่มนักลงทุนที่เน้นการซื้อเพื่อการปล่อยเช่าในช่วงระดับราคาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย
ในภาวะที่กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งปัจจัยลบต่างๆที่ส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนของกลุ่มผู้ซื้อและ ผู้ประกอบการ ทำให้เห็นการปรับตัวของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยจะเห็นว่าผู้ประกอบการกลับมาลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมตลาดกลาง-ล่างอีกครั้ง ในระดับราคาขายเฉลี่ยประมาณ 50,000 บาทต่อตารางเมตร หลังจากในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้าเป็นเซกเมนต์ที่หายไป จากตลาด และพบว่าในช่วงระดับราคาดังกล่าวถึงแม้ว่าจะยังคงเป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้ซื้อและนักลงทุนแต่ ก็เป็นช่วงระดับราคาที่มีอัตราการปฏิเสธปล่อยสินเชื่อ รายย่อยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งบางโครงการสูงมากกว่า 30%
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา