คลังจ่อลดค่าเช่าที่ราชฯ50%

11 มิ.ย. 2563 1,127 0

 



         “ธนารักษ์” เล็งหาช่องลดค่าเช่าที่ราชพัสดุเชิงพา ณิชย์ 50% พร้อมกางเงื่อนไขผู้ประกอบการต้องไม่เลิกจ้างงาน “อุตตม” แจงวาง 2 แนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งทางบก



          นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์ได้ช่วยเหลือผู้เช่า ที่ราชพัสดุที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด- 19 โดยในส่วนของผู้ที่เช่าที่ราช พัสดุเพื่อที่อยู่อาศัย และทำการ เกษตร กรมธนารักษ์ได้มีการเว้น เก็บค่าเช่าไปแล้ว 1 ปี สำหรับค่าเช่าที่ราชพัสดุเชิงพาณิชย์ กรมธนารักษ์อยู่ระหว่างการพิจารณา ว่าจะช่วยลดภาระให้ ผู้เช่าได้อย่างไร แต่ต้องมีเงื่อนไข ว่าจะต้องไม่มีการเลิกจ้างงาน ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้อง การให้ผู้ประกอบการจ้างงานแรงงานไว้ให้มากที่สุด ถึงแม้ว่าจะมีการลดเงินเดือนไปบ้างก็ดีกว่าเลิกจ้าง



          “การลดค่าเช่าที่ราชพัสดุเชิงพาณิชย์ อาจจะมีการลดค่าเช่าให้ 50% แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ที่ได้ลดค่าเช่าจะต้องไม่เลิกจ้างงาน” นายยุทธนากล่าว



          นายยุทธนากล่าวว่า เป้าหมายการเก็บรายได้ของกรมธนารักษ์ปี 2563 อยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท เป็นค่าเช่าที่ราชพัสดุประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการเก็บค่าเช่าที่ ราชพัสดุเพื่อที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรประมาณ 25% และเป็นค่าเช่าที่ราชพัสดุเพื่อการพาณิชย์ประมาณ 75% ซึ่งการเก็บรายได้ของกรมธนารักษ์ได้รับผลกระทบจากการออกมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด แต่ยังเชื่อว่ายังเก็บได้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาท



          ด้าน นายอุตตม สาวนายน รมว.การคลัง ได้กล่าวภายหลัง รับหนังสือร้องเรียนจากสหพันธ์ การขนส่งทางบกแห่งประเทศ ไทย หลังจากผู้ประกอบการใน ภาคการโลจิสติกส์ได้รับผล กระทบต้องหยุดกิจการและเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมากว่า รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ แบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ 1.แนวทางการ ให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า โดยการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการผ่านมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้ปล่อยกู้ไปแล้ว 7 หมื่นล้านบาท จึงยังมีวงเงินเหลือเพียงพอ และซอฟต์โลนของธนาคารออมสิน วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ผู้ประกอบการโลจิสติกส์สามารถไปใช้วงเงินดังกล่าวเพื่อเสริมสภาพคล่องได้



          2.ระยะฟื้นฟู ซึ่งถือเป็น ช่วงสำคัญ จะมีมาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีการปรับตัวเพื่อรับกับรูปแบบธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และ จะมีการประสานงานกับกระ ทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และกระทรวงอุตสาหกรรมในการสร้างแพลต ฟอร์มเพื่อรวมรวบข้อมูลเรื่องการขนส่งของประเทศ



          นายทองอยู่ คงขันธ์ ประ ธานที่ปรึกษาสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีรถขนส่งของผู้ประ กอบการในธุรกิจโลจิสติกส์ที่ ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่หยุดกิจการ หรือเลิกจ้างพนัก งานแล้ว 1.4 ล้านคัน โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยสาร ซึ่งไม่เกี่ยวกับ บขส.-ขสมก. ที่ได้รับผล กระทบ 60-70% และผู้ประ กอบการที่ขนส่งสินค้า ได้รับผลกระทบ 40-50% จากผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในประเทศทั้งสิ้น 3 แสนราย

 

ที่มา:

คลิกเครื่องหมาย เพื่อเพิ่มลงตะกร้าเก็บทรัพย์ที่สนใจ หรือกดอีกครั้งเพื่อลบออก
คลิกเพื่อเลือก บ้านที่ต้องการแล้วกดปุ่ม "เปรียบเทียบ" ได้เลย