ธปท.ร่วมสมาคมแบงก์รัฐ-เอกชน เปิดตัวการให้บริการ dStatement

25 ม.ค. 2565 362 0

          ธปท. สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ร่วมเปิดตัวการให้บริการ dStatement รับส่งข้อมูลลูกค้ากันได้ระหว่างธนาคาร เพื่อลดต้นทุนมากถึง 2,500-3,000 ล้านบาท

          บริการ dStatement (digital bank statement) เป็นการให้บริการรับส่งข้อมูลรายการเคลื่อนไหวบัญชีเงินฝาก (bank statement) ในรูปแบบดิจิทัลโดยตรงระหว่างสถาบันการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนที่ต้อง การใช้ข้อมูล bank statement เป็นหลักฐานประกอบการสมัครขอใช้บริการทางการเงิน สามารถขอให้ธนาคารที่ตนเองมีบัญชีเงินฝากอยู่ ส่งข้อมูล bank statement ไปยังธนาคารแห่งอื่นได้โดยตรง ผ่านช่องทาง mobile banking application หรือช่องทางอื่นตามที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งกำหนด

          นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า พัฒนาการด้านเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมาเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งให้ระบบการเงินของประเทศก้าวสู่โลกการเงินดิจิทัล ดังนั้น การสร้างระบบนิเวศที่เปิดกว้างให้ทั้งผู้ใช้บริการทางการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินสามารถใช้เทคโนโลยีและข้อมูลที่มีให้เกิดประโยชน์ เพื่อต่อยอดพัฒนานวัตกรรมในการให้บริการและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ได้หลากหลายอย่างเสรี จึงเป็นสิ่งสำคัญ และการเปิดตัวบริการ dStatement

          “ธปท.ได้หารือกับสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยช่องทางดิจิทัลจะเป็นการอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนได้อย่างมาก dStatement จะช่วยลดต้นทุนได้สูงถึง 2,500- 3,000 ล้านบาท หากมีการใช้ระบบดังกล่าวจำนวน มาก จากปกติมีคำขอสินเชื่อต่อปีประมาณ 10 ล้านคำขอ 1 คำขอสินเชื่อจะใช้ต้นทุนประมาณ 500 บาทต่อ 1 คำขอ ในปีแรกคาดหวังว่าจะใช้บริการ dStatement ประมาณ 5-10% ของ คำขอทั้งหมด หรือคิดเป็น 5 แสน-1 ล้านคำขอ

          นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย  เปิดเผยว่า สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก สนับสนุนการพัฒนาบริการ dStatement มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์การเข้าถึงสินเชื่อของลูกค้าได้อย่างทั่วถึง สะดวก และเป็นธรรม โดยบริการ dStatement เป็นตัวอย่างการสร้างระบบนิเวศด้านข้อมูลของภาคการเงิน เอื้อให้เกิดนวัตกรรมบริการทางการเงิน บนช่องทางดิจิทัลเพิ่มเติม ส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุดขึ้น มีความสะดวกรวดเร็ว และช่วยยกระดับการให้บริการของธนาคารแต่ละแห่งให้  สอดคล้องกับกับแผนยุทธศาสตร์ 3 ปีของสมาคมธนาคารไทย ในการนำระบบเทคโนโลยีมาสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรม ธนาคาร (Enable Country Competitive ness) ผ่านการสร้างแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลและการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ลดต้นทุนจากกิจกรรมที่ซ้ำซ้อนกันโดยไม่จำเป็น สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม และรองรับการเปลี่ยนแปลงของภาคธนาคารในอนาคต เป็นเสาหลักที่แข็งแกร่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

          โดยมีธนาคารที่พร้อมจะให้บริการในเดือนมิถุนายน 6 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารเกียรตินาคินภัทร และเดือนเมษายนจะทยอยเข้ามาให้บริการอย่างต่อเนื่องรรม 11 แห่ง

          นายฉัตรชัย ศิริไล ประธานสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าวว่า สถาบันการเงินของรัฐมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านบริการทางการเงินแก่ประชาชนด้วยฐานลูกค้าที่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม และเชื่อมั่นว่าการเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากข้อมูลของตนเองได้มากยิ่งขึ้น จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกขึ้น โดยมีภาระต้นทุนทางการเงินที่ลดลงเพื่อคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสมาคมสถาบันการเงินของรัฐและสมาชิกได้ให้การสนับสนุนความร่วมมือของโครงการนี้มาโดยตลอด

ที่มา:

คลิกเครื่องหมาย เพื่อเพิ่มลงตะกร้าเก็บทรัพย์ที่สนใจ หรือกดอีกครั้งเพื่อลบออก
คลิกเพื่อเลือก บ้านที่ต้องการแล้วกดปุ่ม "เปรียบเทียบ" ได้เลย