ธปท.ห่วงหนี้ครัวเรือนถ่วงศก.

14 ธ.ค. 2564 608 0

            แนะเร่งปรับโครงสร้างการันตีธุรกิจประกันปึ้ก

          “แบงก์ชาติ” ลุยจับตาช่วง 3 ปี ห่วงหนี้ครัวเรือนถ่วงเศรษฐกิจไทย แนะรัฐเร่งปรับโครงสร้างช่วยเหลือรายย่อย กระทุ้งหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมมาตรการรับมือตลาดตราสารหนี้ผันผวน พร้อมการันตีธุรกิจประกันภัยฐานะทางการเงินยังมั่นคง

          ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) วันที่ 8 ธ.ค.2564 โดยที่ประชุมเห็นว่าระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนเงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง และสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนความต้องการของสินเชื่อเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

          ส่วนธุรกิจประกันภัยยังมีฐานะการเงินมั่นคง ผลกระทบจากโควิด-19 จำกัดอยู่เฉพาะบางบริษัทที่ขายกรมธรรม์ประกันภัย โควิดแบบเจอ-จ่าย-จบ ซึ่งมีมาตร การดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้กระ ทบต่อเสถียรภาพระบบการเงิน

          อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความไม่แน่นอนของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ และผลกระทบที่อาจมีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ที่ประชุมเห็นว่ายังจำเป็นต้องผลักดันให้มาตรการเป็นไปตามเป้าประสงค์ พร้อมกับประเมินความเพียงพอของมาตรการควบคู่กับบริบทการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ความรุนแรงของสายพันธุ์โอมิ ครอน ประสิทธิภาพของวัคซีน และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด รวมถึงกรณีเลวร้ายที่ต้องกลับไปล็อกดาวน์ เป็นต้น

          นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็น ควรเตรียมความพร้อมด้านมาตร การและเครื่องมือในการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะปานกลาง หรือในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า จำเป็นต้องประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานกำกับ ดูแล โดยให้น้ำหนักกับการดูแล ความเสี่ยงสำคัญที่มีนัยต่อเสถียร ภาพระบบการเงินไทย 2 ประเด็น ดังนี้

         1.หนี้ครัวเรือนระดับสูง อาจกระทบต่อคุณภาพสินเชื่อของสถาบันการเงิน และเป็นแรงกด ดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป ควรเร่งผลักดันมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่มีภาระหนี้สูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน เตรียมความพร้อมมาตรการชะลอการ ก่อหนี้ใหม่ที่เป็นมาตรฐานเดียว กัน รวมถึงแก้ปัญหาหนี้ที่ทำควบ คู่กับการฟื้นฟูรายได้และให้ความรู้ทางการเงิน

          2.ความเสี่ยงที่ส่งผ่านระ หว่างภาคส่วนต่างๆ ในระบบการเงิน เช่น ความผันผวนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ซึ่งส่งผล กระทบต่อนักลงทุนทั่วไป สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนรวม และส่งผลต่อต้นทุนการระดมทุนของภาคธุรกิจ หน่วยงานกำกับดูแลและหน่วยงานภาครัฐที่ เกี่ยวข้องควรเตรียมความพร้อมมาตรการและเครื่องมือรองรับ และยกระดับเกณฑ์การกำกับดูแล เช่น การมีมาตรการดูแลความเสี่ยงของบริษัทใหญ่ที่ระ ดมทุนผ่านช่องทางสินเชื่อและการออกตราสารหนี้ มีเกณฑ์กำกับดูแลเพื่อลดการกระจุกตัวของการลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ มีเกณฑ์เพื่อดูแลความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมที่เข้มงวดขึ้น เป็นต้น

ที่มา:

คลิกเครื่องหมาย เพื่อเพิ่มลงตะกร้าเก็บทรัพย์ที่สนใจ หรือกดอีกครั้งเพื่อลบออก
คลิกเพื่อเลือก บ้านที่ต้องการแล้วกดปุ่ม "เปรียบเทียบ" ได้เลย