ซีวิลฯ คาดก่อสร้างรัฐปีหน้าโต7%

30 พ.ย. 2564 273 0

          “ซีวิลเอนจีเนียริง” มั่นใจปี 2565 เม็ดเงินลงทุนก่อสร้างภาครัฐโต 6-7% ราว 8.5 แสนล้านบาท หลังเตรียมอัดงาน ตอกเสาเข็มโครงการอีอีซีและขยายเมือง

          นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการ บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ CIVIL เปิดเผยว่า ผลจากการ แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายอุตสาหกรรมต้องปรับตัว เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย เข้าสู่ช่วงของการเปิดรับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

          ขณะที่ภาพรวมของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในปี 2564 ท่ามกลางการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 แต่ยังมีสัญญาณเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยบวกเกิดจากการลงทุนของภาครัฐในเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขยายเมืองและโครงข่ายด้านคมนาคม ปัจจุบันก่อให้เกิดการสร้างงานราว 8 แสนล้านบาท และคาดว่าในปี 2565 จะเติบโตอีกกว่า 6-7% หรือมีมูลค่างานกว่า 8.5 แสนล้านบาท

          “นโยบายของรัฐที่ยังคงขยายเมืองเศรษฐกิจพิเศษ เป็นโอกาสที่จะทำให้ภาคก่อสร้างเข้าไปรับงานเหล่านี้ และยังมีโอกาสจากโครงการด้านสาธารณสุขที่คาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งการก่อสร้างโรงพยาบาล รวมทั้งศูนย์สุขภาพและระบบดูแลผู้สูงอายุ”

          นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ CIVIL กล่าวว่า การแข่งขัน ในอุตสาหกรรมก่อสร้างในอนาคตเทคโนโลยีจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน นอกจากการบริการต้นทุนให้น้อยที่สุดแล้ว ซึ่งบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการสิ่งเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังทำงานแบบคล่องตัวและยืดหยุ่น

          อย่างไรก็ดี การปรับตัวดังกล่าวทำให้บริษัทฯ ขยายเครือข่ายลูกค้าจากเดิมรับงานในส่วนของภาครัฐ 100% ปัจจุบันปรับเป็นงานภาครัฐ 95% และเอกชน 5% ซึ่งปี 2565 บริษัทฯ ประเมินว่ายังมีโอกาสในการเข้าไปประมูลงานภาครัฐในรูปแบบพีพีพี และรับเหมาช่วง (ซับคอนแทค) โดยเฉพาะงานในพื้นที่พัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่จะเริ่มลงมือก่อสร้าง และยังมีนโยบายขยายเมืองที่ต้อง ควบคู่ไปกับโครงสร้างพื้นฐาน

          สำหรับโครงการใหม่ในปี 2565 ที่บริษัทฯ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างนอกเหนือจากโครงการในอีอีซี อาทิ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มูลค่า 1 แสน ล้านบาท, รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย มูลค่า 2.6 หมื่นล้านบาท และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-โคราช สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท

ที่มา:

คลิกเครื่องหมาย เพื่อเพิ่มลงตะกร้าเก็บทรัพย์ที่สนใจ หรือกดอีกครั้งเพื่อลบออก
คลิกเพื่อเลือก บ้านที่ต้องการแล้วกดปุ่ม "เปรียบเทียบ" ได้เลย