ธปท. จ่อเพิ่มชดเชย สินเชื่อฟื้นฟู

15 ก.ค. 2564 545 0

         หลังประกาศล็อกดาวน์กรุงเทพฯและปริมณฑล 6 จังหวัด พร้อมยกระดับมาตรการควบคุมโรครวม 10 จังหวัดที่มีการระบาดรุนแรงของโควิด-19 มีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม ทำให้มีการพูดถึงมาตรการช่วยเหลือทางสินเชื่อจากทางการที่เคยดำเนินการ.เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชน

          อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีมาตรการสินเชื่อสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ภายใต้สินเชื่อฟื้นฟู วงเงิน 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งผ่านมา 2 เดือนหลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดให้สถาบันการเงินยื่นคำขอสินเชื่อฟื้นฟู เมื่อ วันที่ 26 เมษายน 2564 พบว่า ยอดอนุมัติล่าสุด วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 จำนวน 66,898 ล้านบาท มีจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 21,929 ราย วงเงินอนุมัติเฉลี่ย 3.1 ล้านบาทต่อราย ส่วนโครงการ พักทรัพย์พักหนี้ มีลูกหนี้เข้ามา 12 ราย วงเงินอนุมัติ 941 ล้านบาท

          ขณะที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ระบุว่า อยู่ระหว่างหารือสมาชิกเพื่อจะเสนอกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง แต่ต้องหารือธปท. เพื่อขอเพิ่มวงเงินค้ำประกันบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็น 70% จากปัจจุบันอยู่ที่ 40% เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการะบาดของโควิด-19 สามารถเข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟูมากขึ้น รวมถึงการเสนอขอเรื่องยกเว้นค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันช่วงปีที่ 1-3

          นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ยอดอนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูเกือบ 7 หมื่นล้านบาท และกระจายตัวได้ดีจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1 แสนล้านบาทภายใน 6 เดือน ส่วนมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ซึ่งเป็นกลไกใหม่ ยอดล่าสุด 12 รายกว่า 900 ล้านบาท โดยสถาบันการเงินนำส่งรายชื่อเข้ามา และอยู่ระหว่างรอการบังคับใช้กฎกมาย เรื่องยกเว้นค่าโอน และค่าธรรมเนียมต่างๆ เบื้องต้นจะเห็นตัวเลขหมื่นล้านบาท

          ยอมรับว่า การระบาดของโควิดรอบสามค่อนข้างรุนแรง ฉะนั้น ทีมงานธปท.อยู่ระหว่างคุยกับสถาบันการเงินและลูกค้าเพื่อพิจารณาคอขวด อาจจะมีอัตราการชดเชยความเสีย โดยจะขยับสูงขึ้นได้บ้าง หรือเรื่องค่าธรรมเนียมต่าง หลักการเน้นช่วยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากขึ้นและไปถึงคนที่ได้รับความเดือดร้อนจริงๆ นายสักกะภพ กล่าว

          แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินกล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ประเด็นของโครงการพักทรัพย์พักหนี้ขณะนี้ คือ  ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ไม่อยากพักทรัพย์ พักหนี้ เพราะลูกหนี้ไม่มั่นใจรายได้ในอนาคต ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการซื้อคืนทรัพย์ ส่วนธนาคารเจ้าหนี้เน้นปรับโครงสร้างหนี้มากกว่าพักทรัพย์พักหนี้ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ต้องได้รับอนุมัติจากธปท.ก่อน จึงจะได้รับสินเชื่อฟื้นฟูตามวงเงินที่เจรจากับลูกหนี้สำเร็จต่อราย  โดยธนาคารเจ้าหนี้ต้องออกตั๋วแลกเงิน (P/N) ให้ทางธปท. แม้จะได้รับวงเงินและดอกเบี้ยต่ำ 0.01% แต่ธนาคารเจ้าหนี้จะเสียโอกาส รายรับจากค่างวด หรืออัตราดอกเบี้ยเดิม และหักค่าเช่าระหว่างพักทรัพย์พักหนี้ในการซื้อคืนทรัพย์

          พักทรัพย์พักหนี้ คนใช้น้อย เพราะสถาบันการเงินเองมีความเสี่ยงสูง ซึ่งเมื่อโอนทรัพย์ชำระหนี้มาแล้ว เจ้าหนี้ไม่สามารถทำอะไรได้ ในเวลา 3-5 ปี กรณีที่ลูกหนี้มาเช่าทรัพย์ไป ธนาคารจะมีรายได้เพียง 1% ต่อปี จากที่เคยได้รับดอกเบี้ยจากลูกหนี้ 5-6% ต่อปี ซึ่งเท่ากับขาดทุนทันทีตั้งแต่ปีแรก หรือหากครบกำหนด 3 ปีหรือ 5 ปีทางลูกหนี้ไม่กลับมาซื้อทรัพย์คืน ธนาคารก็ต้องรับผลขาดทุนดังกล่าว อีกทั้งกรณีที่ลูกหนี้ไม่เช่าทรัพย์ไปบริหารจัดการต่อ ช่วง 3-5 ปี ธนาคารก็ไม่สามารถทำอะไรได้แหล่งข่าวระบุ

          ทั้งนี้ หากโอนราคาตลาดจะดีสำหรับลูกหนี้ แต่ธนาคารเจ้าหนี้ ไม่ต้องการทำ เพราะขาดทุน ขณะเดียวกันก็มีบางรายไม่อยากเข้าพักทรัพย์ เพราะไม่สามารถคาดการณ์กระแสเงินสดรับในอนาคต กลัวเจ้าหนี์ยึดถ้าไม่มีเงินซื้อคืน อีกประเภทคือ เจ้าหนี้ต้องการช่วยลูกหนี้ ส่งรายชื่อไป แต่ธปท.ไม่อนุมัติ

ที่มา:

คลิกเครื่องหมาย เพื่อเพิ่มลงตะกร้าเก็บทรัพย์ที่สนใจ หรือกดอีกครั้งเพื่อลบออก
คลิกเพื่อเลือก บ้านที่ต้องการแล้วกดปุ่ม "เปรียบเทียบ" ได้เลย