สนข.เร่ง168โปรเจค อีอีซี เชื่อมขนส่งทั่วไทย-จีเอ็มเอส

22 มี.ค. 2564 383 0


          จิรโรจน์ ศุกลรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมระบบการขนส่งและจราจร ในภูมิภาค สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า โครงการ ศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยง ฐานการผลิตในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จ.ระนอง อยู่ในขั้นตอนที่ สนข.ศึกษาพื้นที่พัฒนาท่าเรือทั้งในฝั่งทะเลอ่าวไทย และอันดามัน คาดว่าจะเสร็จเดือน มิ.ย.นี้

          นอกจากนี้ สนข.ยังอยู่ระหว่างศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่าง อ่าวไทยและอันดามัน เช่น ท่าเรือ รถไฟ ถนน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นโครงการที่เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 อีกทั้งศึกษาโครงข่ายการคมนาคม ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางและภาคใต้ เชื่อมพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจภายใต้กรอบ อนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เพื่อสนับสนุนการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ

          สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษา จัดใช้งบประมาณศึกษารวม 186 ล้านบาท โดยจะทยอยดำเนินการระหว่างปี 2564-2566 ผลการศึกษาแล้วเสร็จ และเริ่มเข้าสู่ขั้นตอน คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โดยมีเป้าหมายของ การพัฒนาโครงข่ายด้านคมนาคม เพื่อสนับสนุน การเชื่อมโยงการเดินทาง การขนส่ง เศรษฐกิจ และการค้า จากอีอีซีสู่กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ และเชื่อมต่างประเทศ อีกทั้งสนับสนุน การท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา โครงข่ายเชื่อมโยงกับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภายใต้กรอบ GMS

          รายยงานข่าวจาก สนข. เผยว่า ความคืบหน้า ของการพัฒนาโครงข่ายด้านการคมนาคมในพื้นที่อีอีซี กระทรวงคมนาคม โดย สนข.ได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในอีอีซี แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ระหว่างปี 2560-2561 ระยะกลาง ปี 2562-2564 และระยะต่อไป ปี 2565 เป็นต้นไป รวมทั้งสิ้น 168 โครงการ วงเงินลงทุน 9.88 แสนล้านบาท โดยเป็นการพัฒนารัฐร่วมเอกชน หรือพีพีพี 59% จัดใช้งบประมาณ 30% รัฐวิสาหกิจลงทุน 10% และจัดสรรงบจากกองทุน 1%

          ทั้งนี้ แบ่งโครงการพัฒนาในอีอีซี ออกตาม หน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ได้รับ มอบหมาย พบว่า โครงการที่อยู่ภายใต้การดูแล ของกรมทางหลวง (ทล.) มากที่สุด 64 โครงการ มูลค่ารวม 1.51 แสนล้านบาท รองลงมา คือ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) 22 โครงการ มูลค่า 6.29 หมื่นล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 8 โครงการ มูลค่า 3.78 แสนล้านบาท  การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) 3 โครงการ มูลค่า 1.46 แสนล้านบาท และกรมเจ้าท่า (จท.) 2 โครงการ มูลค่า 1.1 พันล้านบาท

          สำหรับสถานการณ์ดำเนินงานของโครงการด้านคมนาคม 168 โครงการ ผลการ ดำเนินการ ณ เดือน ก.ย.2563 ดำเนินการและ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 63 โครงการ คิดเป็น 37% โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการและก่อสร้าง 60 โครงการ คิดเป็น 36% โครงการที่เปลี่ยนแปลงการดำเนินงานเป็นแบบพีพีพี 6 โครงการ คิดเป็น 4% โครงการที่ยกเลิกหรือ ตัดออกจากแผนปฏิบัติการ 7 โครงการ คิดเป็น 4% โครงการที่ยังไม่ดำเนินการหรือจะขอรับ งบประมาณในปี 2565 เป็นต้นไป จำนวน 32 โครงการ คิดเป็น 19%

          โครงการลงทุนขนาดใหญ่ระยะ เร่งด่วนที่กำลังพัฒนาในรูปแบบพีพีพี คือ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โครงการอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โครงการท่าเรือ แหลมฉบัง ระยะที่ 3 โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 โครงการมอเตอร์เวย์ ช่วงพัทยา-มาบตาพุด โครงการพัฒนาสถานีรถไฟอู่ตะเภา และโครงการอาคารผู้โดยสาร ท่าเรือจุกเสม็ด

          รายงานข่าว ระบุด้วยว่า ความคืบหน้าของ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ในอีอีซี พบว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อยู่ระหว่างเตรียมส่งมอบพื้นที่ส่วนแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ภายในปี 2564 พร้อม ส่งมอบรถไฟแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ให้เอกชน คู่สัญญาเข้าบริหารภายใน ต.ค.2564 ส่วนระยะ ต่อไปจะส่งมอบพื้นที่ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ในปี 2565 เร่งรัดงานก่อสร้างและเปิดให้บริการ รถไฟช่วงพญาไท-อู่ตะเภา ในปี 2567 ก่อนให้บริการทั้งเส้นทางในปี 2568

          อีกทั้ง โครงการรถไฟความเร็วสูง จะยกระดับการเดินทางจากกรุงเทพฯ-อีอีซี  ใช้เวลาไม่เกิน 60 นาที ด้วยความเร็วเดินรถสูงถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทาง 220 กิโลเมตร ให้บริการ 10 สถานี อีกทั้งจะพัฒนา พื้นที่รอบแนวเส้นทางรถไฟ และพื้นที่แปลงสำคัญอย่างพื้นที่มักกะสัน 140 ไร่ เป็น อีอีซีเกตเวย์ เบื้องต้นกำหนดราคาโดยสาร 100-500 บาทตามระยะทาง คาดว่าสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจถึง 50,900 ล้านบาท

          ขณะที่โครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภา ลงนามสัญญาเมื่อ 19 มิ.ย.2563 แผนดำเนินงานจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2564  และ มีกำหนดเปิดบริการระยะแรกปี 2567 โดยจะเป็น เกตเวย์อีอีซีเชื่อมกับโลก มีการพัฒนาโครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมด้านการบินและ การท่องเที่ยว อาทิ ศูนย์ธุรกิจ เขตประกอบการ ค้าเสรี อุตสาหกรรมดิจิทัล ศูนย์โลจิสติกส์ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน โดยจะสร้าง ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 1.89 แสนล้านบาท

          นอกจากนี้ มีความคืบหน้า โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน โดยบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างทบทวน โครงการ คาดว่าจะชัดเจนหลังตั้งคณะ ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ และมีเป้าหมายเปิดให้บริการไม่ช้ากว่าท่าอากาศยานอู่ตะเภา ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการระยะแรกในปี 2567

          เช่นเดียวกับ ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3  ปัจจุบัน กทท.ได้เสนอผลการเจรจาและความเห็น ต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) มีเป้าหมายก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานท่าเรือ F แล้วเสร็จปลายปี 2565 ก่อนส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเริ่มสร้างท่าเรือ F และเปิดบริการปี 2568

ที่มา:

คลิกเครื่องหมาย เพื่อเพิ่มลงตะกร้าเก็บทรัพย์ที่สนใจ หรือกดอีกครั้งเพื่อลบออก
คลิกเพื่อเลือก บ้านที่ต้องการแล้วกดปุ่ม "เปรียบเทียบ" ได้เลย