กพอ.ดัน เมืองการบิน นำร่องเขตส่งเสริม อีอีซี
นครินทร์ ศรีเลิศ
กรุงเทพธุรกิจ
วิกฤติโควิด-19 ค่อยๆ คลี่คลายความคาดหวังกิจกรรมเศรษฐกิจต่างๆ ที่จะเริ่มกลับมาเป็นปกติ (Normal) ในรูปแบบใหม่ (New) ซึ่งโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นหนึ่งในความหวัง ดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ประมาณการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ว่าในช่วงแต่ละปี หลังจากนี้ อีอีซีจะดึงเม็ดเงินลงทุนได้ 3-4 แสนล้านบาทต่อปี เพื่อผลักดัน ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ให้ขยายตัว 5%
ดังนั้นอีอีซีในระยะข้างหน้าต้องเพิ่ม การลงทุนมากกว่า 1.7 ล้านล้านบาท โดยแผนที่ สกพอ.จะทำ ส่วนหนึ่งมาจากการขับเคลื่อนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และ จะมีการสร้างเมืองใหม่ เพื่อทำให้เม็ดเงินลงทุน ที่ตอนนี้มีจากโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (บีโอไอ )8 แสนล้าน จะเพิ่มเข้ามา อีกปีละ 2 แสนล้าน
คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยภายหลัง การประชุม คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานเห็นชอบให้สกพอ. ไปจัดทำร่างจัดทำสิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูดการลงทุนใน 6 เขตพื้นที่ในอีอีซี เพื่อส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่
เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน เขตส่งเสริมการแพทย์จีโนมิกส์ เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) และเขตส่งเสริม อุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECD)
โดยพื้นที่สำคัญที่จะมีการนำร่องให้ใช้สิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมพิเศษที่อีอีซี จะเป็นหน่วยงานที่ร่างขึ้นมาคือเขตส่งเสริมฯ เมืองการบินภาคตะวันออก ที่ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบ (Sandbox) ที่จะยกระดับการปฏิรูป และยกระดับประเทศไทย ตามข้อเสนอเรื่อง 10 for 10 ของสถานทูตสหรัฐที่ได้เสนอ แนวทางในการยกระดับการพัฒนาประเทศไทยให้สามารถก้าวสู่ 10 อันดับของประเทศที่ประกอบธุรกิจง่ายที่สุด (Ease of doing business) ได้ในที่สุด โดย สกพอ.มีแผนที่จะดูแลผู้ประกอบกิจการ ที่ได้รับอนุญาตแบบครบวงจร (End to end) เพื่อสนับสนุนทุกช่วงเวลาของการ ประกอบกิจการ
ทั้งนี้แนวทางที่ สกพอ.ได้มีการศึกษาแนวทางการขับเคลื่อน การลงทุนในพื้นที่อีอีซีให้ได้มากขึ้นตามเป้าหมายการให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีศักยภาพเพื่อผลักดันการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แบ่งเป็น 5 ด้านที่สำคัญได้แก่
1.การสร้างนวัตกรรมการให้บริการและการ ดำเนินการด้านสิทธิประโยชน์ของภาครัฐในเชิงรุก
2.มุ่งเน้นนักลงทุน กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพ
3.การออกแบบสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม และตรงกับความต้องการของนักลงทุน แต่ละราย
4.การสร้างบรรยากาศที่ดี ในการลงทุน และ 5.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นเครื่องมือในการบริหารงานภาครัฐและการบริการสาธารณะ
รายงานข่าวจากที่ประชุม กพอ.เปิดเผยว่า บีโอไอได้รายงานในการประชุมว่าปัจจุบันโครงการเมืองการบินภาคตะวันออกได้รับ ความสนใจจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยบีโอไอได้จัดส่งรายชื่อบริษัทเอกชน ที่อาจสนใจที่จะเข้ามาลงทุนโดยส่วนใหญ่เป็นในกลุ่มอุตสาหกรรมการบิน (Aviation) 6 ราย ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มบริษัทที่ลงทุน ในประเทศไทยอยู่แล้วและได้รับการ ส่งเสริมการลงทุนแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเขตส่งเสริมฯเพื่อรองรับการประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรม และการค้า และบริการเพิ่มเติมในพื้นที่อีอีซี เพื่อรองรับการเติบโตในพื้นที่อีอีซีในอนาคตโดยในส่วนของพื้นที่ซึ่งส่งเสริมรูปแบบ นิคมอุตสาหกรรม เพิ่มเติมมีจำนวน 5 แห่ง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 6.8 พันไร่ พื้นที่ประกอบกิจการ 5.1 พันไร่ คาดว่าจะมีการลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาทภายใน 10 ปี (2564-2573)
ก่อนหน้านี้เลขาธิการอีอีซีเปิดเผยว่า หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย สกพอ. ตั้งเป้าว่าในช่วงปลายปี 2564 สกพอ. จะเริ่มทำโรดโชว์ท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกรวมทั้ง จะเปิดหน้าดินให้โครงการโครงสร้างพื้นฐาน เริ่มงานก่อสร้าง โดยสัญญาว่าภายใน ปี 2564จะเริ่มเห็นการเปิดหน้าดินเป็นเรื่องราว ทั้งท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก รวมไปถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)
“สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ถือเป็นหัวใจของอีอีซี ซึ่งขณะนี้ทราบว่าเอกชนอยู่ระหว่างทำแผนพัฒนา และมีการวางรูปแบบดีไซด์คอนเซ็ปต์ สนามบินนี้อย่างน่าสนใจ เพราะทางทีมกำลังเสนอคอนเซ็ปต์ให้ที่นี่เป็นสนามบิน Entertainment and Art เพื่อโตเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค”
สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกมีมูลค่า การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนประมาณ 200,000 ล้านบาทมีกำหนด เปิดบริการในปี 2568 โดยอีอีซีได้มีการ ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ภาคตะวันออก กับ บริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัดเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา
โดยบริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด” ทุนจดทะเบียน 4.5 พันล้านบาท เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ถือหุ้น 45%,บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด 35% และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ถือหุ้น 20% โดยจะมีทาง Narita International Airport Corporation เป็นผู้รับจ้างในการบริหารสนามบินอู่ตะเภา
ให้สกพอ.จัดทำร่างจัดทำสิทธิประโยชน์เพื่อดึงการลงทุน ใน 6 เขตพื้นที่ในอีอีซีเพื่อส่งเสริมการลงทุนอุตฯ เป้าหมาย คณิศ แสงสุพรรณ
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ