JLL เผยตลาดโรงแรมไทยเริ่มคึกคัก หลังยอดซื้อ-ขายพุ่งมากกว่า5เท่า
เจแอลแอล ระบุตลาดการลงทุนซื้อขายโรงแรมไทยฟื้น จับตาสิ้นปีกลับมาขยายตัวสูง หลังพบสัญญาณ ซื้อ-ขายโรงแรมขยายตัวเพิ่มมากกว่า 5 เท่า จากปี 63 เผยยอดการลงทุนซื้อขายรวมสูงถึง 1.2 หมื่นล้านบาท แจงตั้งแต่ต้นปีจนถึงไตรมาส-พบมีการซื้อ-ขายเกิดขึ้นแล้ว 13 แห่ง มูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้านบาท ขณะที่ปี 63 มีการซื้อ-ขาย 4 แห่งรวมมูลค่า 1,900 ล้านบาท
นายจักรกริช จักรพันธุ์ ณ อยุธยา รองกรรมการผู้จัดการภาคพื้นเอเชีย หน่วย ธุรกิจบริการการลงทุนด้านโรงแรม เจแอลแอล กล่าวว่า การลงทุนซื้อ-ขายโรงแรมปรับตัวกลับไปที่ระดับก่อนการแพร่ระบาด โควิด-19 คาดว่าปีนี้ มูลค่าซื้อ-ขายจะแตะระดับ 12,000 ล้านบาท หากการเจรจาซื้อ-ขายที่มีมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาทที่เกิดขึ้น ในขณะนี้ประสบความสำเร็จ และจะทำให้มูลค่าการซื้อ-ขายของปีนี้ บของปีจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
”โดยในปีนี้ เจแอลแอล เป็นตัวแทนปิดการขายซิทาดีนส์ สุขุมวิท 23 บางกอกขนาด 138 ห้อง และกำลังอยู่ในระหว่างการ เป็นตัวแทนการลงทุนซื้อขายโรงแรมอีกกว่า 10 รายการ รวมมูลค่า 17,000 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ มี 2 รายการที่คาดว่าจะ ดำเนินแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ โดยสาเหตุของการลงทุนซื้อขายโรงแรมที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในปีนี้ เกิดจากการที่มีโรงแรมคุณภาพเหมาะสำหรับการลงทุนเสนอขายเพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ชายคาดหวัง ขยับเข้าใกล้กันมากกว่าเดิม” นายจักรกริชกล่าว
นางสาวพิมพ์พะงา ยมจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริการลงทุนซื้อขายภาคพื้นเอเชีย หน่วยธุรกิจบริการที่ปรึกษา ด้านโรงแรม เจแอลแอล กล่าวว่า สถานการณ์โควิดที่ยืดเยื้อ ทำให้มีเจ้าของโรงแรมจำนวนมากขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และผู้ประกอบการโรงแรม ตัดสินใจเลือก 1-2 โรงแรมในพอร์ตของตน นำออกมาเสนอขายเพื่อให้ได้เม็ดเงินเข้ามาเสริมสภาพคล่อง ในขณะที่ฝั่งนักลงทุนซื้อเริ่มมองเห็นแนวโน้มเชิงบวกในภาคการ ท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรม และมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับราคาเสนอขายที่ไม่ได้ปรับลดลงเท่ากันทั้งตลาด
จากการสังเกตการณ์ของเจแอลแอล พบว่า โรงแรมระดับห้าดาว แทบไม่มีการปรับลดราคาเสนอขายลงเลย เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ยากจะสร้างขึ้นมาได้ใหม่ ประกอบกับเจ้าของโรงแรมในกลุ่มนี้ยังคง มีสถานการณ์ทางการเงินที่ค่อนข้างเข้มแข็งเจแอลแอลยังพบด้วยว่า ราคาเสนอขายโรงแรมในกรุงเทพฯ ที่มีคุณภาพเหมาะ สำหรับการซื้อเพื่อลงทุน ค่อนข้างมี เสถียรภาพมากกว่าโรงแรมในหัวเมืองท่องเที่ยวตากอากาศ ในขณะที่โรงแรมในหัวเมืองชั้นรองโดยเฉพาะโรงแรมระดับกลางๆ มีราคาเสนอขายปรับลดลงมากกว่า
ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ซื้อ หากพิจารณา จากจำนวนรายการซื้อขายที่เกิดขึ้นในปีนี้ พบว่า ราว 90% เป็นการซื้อโดยนักลงทุนไทยทั้งประเภทบุคคลระดับคหบดีและบริษัทที่มีสถานภาพทางการเงินที่แข็งแกร่ง และนักลงทุนจากต่างประเทศประเภทกองทุนนอกตลาด (private equity fund) ซึ่งลงทุนเหล่านี้ มีทั้งที่ต้องการซื้อโรงแรมเข้ามาอยู่ในพอร์ตการลงทุนของตน และที่ต้องการขยายจำนวนโรงแรมในพอร์ตการลงทุนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากมูลค่าโรงแรมที่มีการซื้อขายแล้วและที่กำลังจะปิดการซื้อขายในปีนี้ พบว่า 62% ของมูลค่าการซื้อขาย มีนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อ
Reference: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา