แบงก์รัฐตรึงดอกเบี้ยบรรเทาความเดือดร้อนลูกค้า

16 Aug 2022 457 0

           นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (สงร.) เปิดเผยว่า จากการ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 0.25% ต่อปี จาก 0.50% ต่อปี เป็น 0.75% ต่อปี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เล็งเห็นว่า ในภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสำหรับสถาบันการเงินอาจ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงได้มอบนโยบายให้สถาบันการเงิน เฉพาะกิจของรัฐ ดูแลลูกค้า ทั้งในส่วนลูกค้ารายย่อย ภาคธุรกิจ รวมถึงผู้ส่งออก ให้ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวให้น้อยที่สุด

          โดยสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และสถาบันการเงินสมาชิก พร้อมดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดภาระค่า ใช้จ่ายสำหรับลูกค้าอย่างเต็มที่ โดยมีรายละเอียดแนวทางการดูแลของแต่ละสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ของรัฐ ดังต่อไปนี้

          ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ..จะตรึงอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าในระดับปัจจุบันต่อไปจนถึงสิ้นปี 2565 และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากตามความเหมาะสมกับสภาวะตลาด เพื่อรักษาสภาพคล่องให้กับธนาคารในการนำเงินไปปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนที่ต้องการมีบ้านได้ต่อไป

          ธนาคารออมสิน..จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือน/6 เดือน ปรับขึ้น 0.15% เงินฝากประจำ 12 เดือน ปรับขึ้น 0.20% และเงินฝาก ประจำ 24 เดือน/36 เดือน ปรับขึ้น 0.30% เพื่อช่วยส่งเสริมการออม และให้ประชาชนได้มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่กำลังเริ่มกลับมา มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR, MOR และ MRR) ไว้ให้นานที่สุดเพื่อชะลอผลกระทบต่อลูกค้ารายย่อย ผู้ประกอบการ SME และกลุ่มเปราะบาง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

          ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ..จะตรึงอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อภาคการเกษตร และกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันการเกษตร ผู้ประกอบการ และชุมชน โดยการดูแล ภาระหนี้สิน เพื่อลดความกังวลใจในเรื่องหนี้การจัดทำ คลินิกหมอหนี้ เพื่อลดหนี้ครัวเรือน รวมถึงการให้คำปรึกษา ด้านการจัดการหนี้ ทั้งหนี้ในและนอกระบบ การเติม สินเชื่อใหม่ ภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน เพื่อเสริม สภาพคล่องในการใช้จ่ายและการลงทุน และการพัฒนา ศักยภาพในการปรับเปลี่ยนการผลิตไปปลูกพืชที่มี มูลค่าสูง การลดต้นทุนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม และการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นสนับสนุนแนวทางการประกอบอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และชุมชน

          ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ..จะตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ให้นานที่สุด ในอัตรา Prime Rate 5.75% ต่อปี ซึ่งเป็น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีที่ต่ำที่สุด ในระบบ เพื่อแบ่งเบาภาระลูกค้าและผู้ประกอบการไทย รวมทั้งพัฒนาโปรโมชั่นพิเศษสินเชื่ออัตราดอกเบี้ย ต่ำกว่า Prime Rate อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ให้อยู่รอดและขยายธุรกิจในตลาดการค้าโลกได้ท่ามกลางปัจจัยท้าทายที่อาจ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนทางธุรกิจของผู้ประกอบการในปีนี้

          ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ..จะตรึงอัตรา ดอกเบี้ยไว้ให้นานที่สุด เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี โดยก่อนหน้านี้ได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง ผ่านกระบวนการแก้ไขหนี้อย่างยั่งยืนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้ลูกค้าได้รับผลกระทบไม่มาก ขณะเดียวกัน ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำและคงที่ เสริมสภาพคล่องและบริหารจัดต้นทุนทางการเงิน เช่น “สินเชื่อ 3D” อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.5% ต่อปี ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ และ “สินเชื่อธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” (BCG Loan) อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3.99% ต่อปี เป็นต้น เพื่อช่วยประคับประคองให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและ เดินหน้าธุรกิจได้ต่อเนื่อง

          ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) .. จะคงอัตรากำไรสินเชื่อให้นานที่สุดถึงสิ้นปี เพื่อมิให้เกิดผลกระทบกับลูกค้า สำหรับผลตอบแทนเงินฝาก จะจัดสรรตามส่วนแบ่งกำไรตามเงื่อนไข โดยธนาคารจะพิจารณา ผลตอบแทนในตลาดที่เปลี่ยนแปลงมาประกอบในการพิจารณา ทั้งนี้ ธนาคารยังคงมาตรการให้ความช่วยเหลือ ด้านอื่นๆ ให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

          บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ..พร้อมดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ SMEs อย่างเต็มที่ ในฐานะผู้ค้ำประกันสินเชื่อ โดยยืน 3 มาตรการช่วยผู้ประกอบการ SMEs คือ 1.ลดต้นทุนฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ ร่วมกับ สถาบันการเงินในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs สร้างชาติ หรือ PGS 9 วงเงิน 150,000 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2-3 ปีแรก และระยะเวลา การค้ำประกันสินเชื่อนานถึง 10 ปี รวมถึง โครงการ ค้ำประกันสินเชื่อภายใต้ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู และ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Soft Loan Extra 2.ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ SMEs ฟรี ผ่าน บสย. F.A.Center และ 3. ปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับลูกหนี้ ค้ำประกันสินเชื่อ ภายใต้มาตรการ “บสย. พร้อมช่วย” ภายใต้แนวคิด “แก้หนี้ยั่งยืน” เพื่อรองรับการช่วยเหลือ ลูกหนี้ค้ำประกันสินเชื่อกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ เน้นความยืดหยุ่นและผ่อนเบา”

Reference:

Click icon to remove from or add to favorite list
Click to choose and click "Compare" button