อสังหาฯ เร่งเทกออฟ ทุ่ม 4.2 แสนลบ. ปูพรมเปิด 297 โครงการ แตกแบรนด์บ้านใหม่-ชู'คอนโดฯโลว์ไรส์ สปีดโอนไว
อสังหาริมทรัพย์
ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 หากมอง โดยภาพรวมแล้ว ต้องถือว่ายังอยู่ในภาวะที่ต้องรอการฟืนตัวจากภาคเศรษฐกิจของประเทศ แต่มีสัญญาณบวกที่จะเริ่มเห็นในปีนี้ หลังจากในห้วง 2 ปีที่ผ่านมาประเทศไทย ต้องเผชิญกับมหันตภัย จากแรง “สึนามิ โควิด” ที่ซัดสร้างความเสียหายและความบอบช้ำให้กับเศรษฐกิจไทย ภาคธุรกิจอสังหาฯหนึ่งในเรียลเซกเตอร์กว่า 6-8 แสนล้านบาท ที่ต้องพึ่งพาในเรื่องของความเชื่อมั่น ก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อสังหาฯ สวนโควิด 13 บริษัทสปีดเปิดโปรเจกต์ พุ่ง 4 แสนล.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปี 64 อสังหาฯหลายบริษัทเร่งระบายสต๊อกออกอย่างแรง เพื่อลดความเสี่ยงที่มี สินค้าอยู่ในพอร์ตมากเกินไป ป/ละด้วยการเร่งโอนฯโครงการทั้งแนวสูงและแนวราบ ส่งผลให้ในช่วงปลาย ปี 64 ต่อเนื่องถึงปี 65 ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ ตัดสินใจลงทุนเปิดตัวโครงการใหม่ เพื่อชดเชยในสินค้าบางกลุ่มที่ลดลงขณะที่จำนวนโครงการที่เพิ่มขึ้น ช่วยให้ฝั่งของสินทรัพย์ของผู้ประกอบการมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับฝั่งหนี้สิน
ดังนั้น จากการติดตามบริษัทอสังหาฯที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ พบว่าในปี 65 มีความเคลื่อนไหวที่น่าติดตามในแผนธุรกิจ โดยจากการรวบรวมพบว่าใน 13 บริษัทอสังหาฯที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และ 1 บริษัทจำกัด ได้ตั้งธงขับเคลื่อนธุรกิจ โดยตัวเลขในปี 65 ในแผนจะเปิดม่านโครงการใหม่เบื้องต้น 297 โครงการ มูลค่าการขาย 420,920 ล้านบาท (ยังเหลือบริษัทมหาชนอีกหลายราย ยังไม่แจ้งแผนธุรกิจคาดมูลค่ารวมเปิดโครงการน่าจะเพิ่มขึ้นมาเกินกว่า 4.5 แสนล้านบาท)
ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดหลัก ยังคงเป็นดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งในตลาดอสังหาฯ โดย 10 บริษัทที่รวบรวมได้ (ยังไม่รวมบริษัทเฟรเซอร์สฯ, แอล.พี.เอ็นฯ) มีแผนเปิดถึง 275 โครงการ (เทียบ 297 โครงการ) คิดเป็นสัดส่วนที่รายใหญ่ครองตลาด ประมาณ 93% มูลค่าการขายประมาณ 391,520 ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 94%
ส่อง 5 บิ๊กอสังหาฯ บริหารพอร์ต 689 โครงการครองแชร์ตลาด 6.7 แสน ลบ.-หนุนรายได้มั่นคง
สำหรับการขยายโครงการอย่างต่อเนื่องของ ผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์ ส่งผลในแต่ละปี บริษัทจะมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายและโครงการ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างยกยอดข้ามมาในปี 65 ซึ่งแต่ละบริษัทจะบริหารโครงการในพอร์ตที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเปาหมายการทำตลาด โดยเมื่อพิจารณาเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ พบว่า บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตทฯ, บริษัทเอพี ไทยแลนด์, บริษัท ศุภาลัยฯ, บริษัท แลนด์ แอนด์เฮ้าส์ฯ และบริษัท เอสซี แอสเสทฯ มีพอร์ตโครงการ ที่พร้อมขายและอยู่ระหว่างดำเนินการประมาณ 689 โครงการ (บางบริษัทรวมตัวเลขโครงการใหม่ที่เปิดใน ปี 65) มูลค่ารวมสูงถึง 672,642 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผล ต่อเนื่องให้กับผลประกอบการในปีถัดๆไป โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้ากลุ่มแนวราบ
ทั้งนี้ หากพิจารณาจะพบว่า บริษัทพฤกษา เรียลเอสเตทฯ รายใหญ่ที่มีโครงการรวมพร้อมขายสูงสุด ในกลุ่มบริษัทอสังหาฯในตลาดหลักทรัพย์ โดย ณ สิ้น ธ.ค.64 มีจำนวน 179 โครงการ มูลค่า 197,092 ล้านบาทสินค้าหลักของพฤกษาที่บริหารอยู่ จะเป็นโครงการ แนวราบ ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว และคอนโดฯ รองลงมาเป็นบริษัท ศุภาลัยฯ มีจำนวน 159 โครงการ มูลค่า การขาย 175,000 ล้านบาท และบริษัท เอพี ไทยแลนด์ฯเนื่องจากรวมโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นใน 65 เข้ามา เป็นต้น
”สเกลจำนวนโครงการที่มาก สร้างความได้เปรียบให้กับบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งเรื่องอำนาจต่อรองกับซัปพลายเออร์ต่างๆ การจัดหาผู้รับเหมา การรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษจากสถาบันการเงินทั้งสินเชื่อโครงการและสินเชื่อรายย่อยบุคลากรมีประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้นรวมถึงต้นทุนของมาร์เกตที่ลดลงจากการใช้กลยุทธ์ทางด้านออนไลน์ ทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้กลับมาสนับสนุนในโปรแกรมการตลาดให้กับลูกค้าได้” แหล่งข่าวในวงการกล่าว
’เอพี ไทยแลนด์’ ทุบสถิติใหม่ ปูพรม 65 โครงการ สร้าง ‘เพาเวอร์’ ธุรกิจครั้งใหญ่
ผู้สื่อข่าวรายงาน การประกาศแผนธุรกิจครั้งใหญ่ของบริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ได้สร้างความเซอร์ไพรส์ให้กับวงการอสังหาฯพอควร ด้วยการสร้าง เพาเวอร์ธุรกิจครั้งใหญ่ ผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ เริ่มจาก ทุบสถิติเปิดโครงการใหม่สูงถึง 65 โครงการ มูลค่าสูง ถึง 78,000 ล้านบาท โชว์ศักยภาพกับเปายอดขาย 50,000 ล้านบาท และรายได้ 47,000 ล้านบาท ขึ้นเป็นผู้นำเช่นกัน ซึ่งนั่นหมายความว่า แบรนด์เอพี จะสามารถกินส่วนแบ่งในตลาด (มาร์เกตแชร์) เพิ่มขึ้น โดยเอพี มีการตั้งเปา เปิดโครงการมากขึ้น และการขายที่สูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2562
”เป็นปีที่สุดยอดของเอพี กับการพุ่งทะยานไปต่อ BREAKTHROUGH แม้จะเป็นปีที่ท้าทายมากๆ แต่ด้วยความสามารถของเรา ก็พร้อมสร้างความแตกต่างซึ่งการเปิดตัวโครงการใหม่ในปริมาณที่มากขนาดนี้ ถ้าระบบ หลังบ้านไม่พร้อม ก็ยากที่จะเป็นจริงได้ ตลอด 2 ปีของการเผชิญวิกฤต ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของทีมเอพีซึ่งเป็นผลมาจากการจัดโครงสร้างองค์กรภายใน ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว” นายวิทการ จันทวิมลรองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กร และการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ฯ กล่าวถึงความพร้อมในทุกๆด้านของเอพี
แตกแบรนด์เพิ่มดีไซน์แบบบ้าน ขยายกลุ่มกำลังซื้อใหม่
สำหรับกลยุทธ์การรุกต่อตลาดอสังหาฯในปีนี้ หลายบริษัท ได้ปรับทิศทางการตลาด โดยมีการแตกแบรนด์และปรับโปรดักต์ใหม่ในกลุ่มโครงการแนวราบและแนวสูง หรือการเพิ่มแบบบ้านดีไซน์ใหม่ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มกำลังซื้อเพื่อคน New Gen
โดย นายธงชัย บุศราพันธ์ รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในแผนธุรกิจปีนี้ว่า ปีนี้เน้นกลยุทธ์ขยายธุรกิจเชิงรุก โดยวางเปาหมายเพิ่มสัดส่วนโครงการแนวราบและคอนโดฯ Low Rise g รองรับกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย เพราะรอบในการก่อสร้างสั้นสามารถรับรู้รายได้เร็วขึ้น โดยคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาโครงการแนวราบในพอร์ตเกือบ 50% ขณะเดียวกัน จะกระจายทำเล และพัฒนาสินค้าให้ครอบคลุมทุกความต้องการในทุกมิติ ซึ่งระดับราคาจะเป็นกลุ่มที่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้
นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเปาธุรกิจปีนี้ว่า แผนเปิดตัว 46 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 28 โครงการ และคอนโดมิเนียม 18 โครงการ โดยมีสัดส่วนของ Affordable Segment 50% เพื่อให้แสนสิริเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงง่าย มีการเปิดตัวทาวน์โฮมราคา เข้าถึงง่ายภายใต้แบรนด์ สิริ เพลส 8 โครงการ มูลค่า 6,100 ล้านบาท พร้อมแบบบ้านเดี่ยว แบรนด์สราญสิริดีไซน์ใหม่ครองความเป็นผู้นำบ้านเดี่ยวระดับบน ด้วยการเปิดตัวแบรนด์ “บุราสิริ และเศรษฐสิริ”เป็นต้นนายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการุกตลาดแนวราบว่า ปีนี้จะพลิกวิธีคิดในการพัฒนาทาวน์โฮมในเมืองเครือเอพีใหม่ทั้งหมด เพื่อครองภาพการเป็นผู้นำตลาดทาวน์โฮม โดย Big Surprise ที่จะมาเขย่าตลาดทาวน์โฮมในทุกเซกเมนต์ ประกอบด้วย การเปิดตัว 20 แบบบ้านใหม่ จาก 6 แบรนด์ทาวน์โฮม เตรียมกินแชร์ตลาดบ้านแฝด 3 ชั้นและ 2 ชั้นเพิ่มขึ้น กับแบรนด์บ้านกลางเมือง The Edition และแกรนด์ พลีโน่ และการบุกตลาดทาวน์โฮม 2 ชั้นในเขตปริมณฑล ด้วยแบรนด์น้องใหม่ PLENO TOWN เริ่ม 1.89 ล้านบาท
ธุรกิจบ้านเดี่ยว ในปีนี้พร้อมบุกตลาดใหม่ใน พื้นที่เขตปริมณฑล อย่างจังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรปราการเปิดตัวสินค้าใหม่จับกลุ่มตลาดแมส ระดับราคา 3-5 ล้านบาท ภายใต้ชื่อแบรนด์ใหม่ เพื่อมุ่งเจาะกลุ่ม Gen M และ Gen Z กับแบบบ้านดีไซน์ใหม่
ปรับโมเดล เพิ่ม ‘คอนโดฯโลว์ไรส์’ สปีดยอดขาย-โอนเร็ว
สำหรับในภาคของตลาดคอนโดฯนั้น พบว่า รายใหญ่เริ่มหันมาเพิ่มพอร์ตคอนโดฯ แต่คงไม่ได้เป็นตลาดหลักในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากสถานการณ์ของตลาดคอนโดฯที่ยังชะลอตัว ซัปพลายที่มีอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดฯระดับบน ที่ถูกผลกระทบจากเรื่องของโควิด ต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้เป็นปกติ ส่งผลให้ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และ รายกลาง ปรับทิศทางหันมาเจาะกลุ่มที่สามารถเข้าถึง ราคาและจ่ายได้ เช่น คอนโดฯ Affordable ระดับ ราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ บริษัทเสนา ดีเวลลอปเม้นท์ฯ โหมทำตลาดในส่วนนี้ และมีการเข้าซื้อคอนโดฯ สร้างค้างบริเวณติดถนนรัตนาธิเบศร์ มาปรับทำตลาดภายใต้แบรนด์ใหม่ที่จะเปิดการขายปีนี้
ทั้งนี้ บริษัทอสังหาฯรายใหญ่ ได้ประกาศแผนที่หวนคืนกลับมาทำตลาดคอนโดฯอีกครั้ง แม้ว่าการแข่งขันจะสูง แต่ดีมานด์ยังมีอยู่ โดยมีการผสมโครงการโลว์ไรส์และแนวสูง เพื่อบริหารพอร์ตโครงการหนุนรายได้จากการโอนฯที่รวดเร็วขึ้น
นายวิทการ กล่าวเสริมว่า ปีนี้ เอพี ได้ปรับโมเดลในเรื่องการพัฒนาโครงการคอนโดฯ ซึ่งจะเปิด 5 โครงการคอนโดฯ มูลค่า 13,000 ล้านบาท ชู ASPIRE เป็นเรือธง (Fighting Brand) หลัก บุกลุยตลาดแมส ด้วยจุดยืน LIVE AS YOU ASPIRE ด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 1.99 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเริ่มต้น 84,000 บาท/ตร.ม. โดย มี 2 โครงการแรกที่ทำเลปิ่นเกล้า และรัชโยธิน รูปแบบโลว์ไรส์ เปิดการขายครึ่งปีแรกและคาดว่าจะสามารถ โอนได้ในครึ่งปีหลัง ส่วนโครงการแนวสูงจะไปเริ่มใน ครึ่งปีหลัง
Reference: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา