แบงก์ขานรับเร่งปล่อยสินเชื่อฟื้นฟู

31 May 2021 508 0

          หลังจากที่สัปดาห์ก่อนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมหารือสมาคมธนาคารไทยถึงแนวทางในการขับเคลื่อน มาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทั้งในส่วนของสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อเสริมสภาพคล่อง และมาตรการ พักทรัพย์ พักหนี้ (sset Warehousing) ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งได้ดำเนินการจัดทำแพ็กเกจ การช่วยเหลือเพื่อให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม อีกทั้งมีการปรับกระบวนการขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็ว พร้อมกันนั้น ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการ ร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) โดยขอให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย รวบรวมรายชื่อข้อมูล ของผู้ประกอบการที่สนใจขอสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อเสริมสภาพคล่องและหาแนวทางข้อสรุปในการช่วยเหลือแต่ละราย ซึ่งสมาคมธนาคารไทยจะได้ส่งต่อให้แก่ธนาคารสมาชิกต่อไป

          โดยนายผยง ศรีวณิช กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย (TB) ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ในช่วงระยะเวลาที่เปิดให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการเพียงแค่ 3 สัปดาห์ ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูไปแล้ว 15,000 ล้านบาท ให้ ผู้ประกอบการ SMEs 5 พันกว่าราย ซึ่งจำนวนนี้เป็นการช่วยเหลือเอสเอ็มอีรายเล็กที่มีวงเงินสินเชื่อเดิมกับธนาคาร ทั้งรายเล็ก กลาง และใหญ่ ครอบคลุมทุกธุรกิจทั่วประเทศ และขณะนี้ธนาคารต่างๆ กำลังเร่งพิจารณาคำขออนุมัติสินเชื่อที่สามารถเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฟื้นฟูของ ธปท.ได้ คาดว่าภายใน 2 อาทิตย์นี้จะเห็นยอดตัวเลขสินเชื่อฟื้นฟูเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นไปตามเป้า 1 แสนล้านบาท ใน 6 เดือนแรก

          สำหรับโครงการพักทรัพย์พักหนี้  ขณะนี้ธนาคารแต่ละแห่งกำลังดำเนินการในเรื่องของความชัดเจนแนวทางปฏิบัติ เช่น เรื่องภาษี ค่าธรรมเนียมการโอนเพื่อให้ถูกต้อง คาดว่าอีกไม่นานจะเห็นผู้ประกอบการ เช่น กลุ่มโรงแรม หรือกลุ่มธุรกิจการผลิตที่มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมาเป็นหลักประกันที่ยื่นขอเข้าโครงการนี้ทันท่วงที

          แบงก์เร่งอัดฉีด จัดทีมเข้าถึงลูกค้า

          นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL)กล่าวว่า ธนาคารได้ตั้งเป้าในการปล่อยสินเชื่อจำนวน 15,000 ล้านบาทจากมาตรการดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจ โดยธนาคารได้เตรียมความพร้อมไว้อย่างเต็มที่ ทั้งบุคลากรและระบบงานต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 3 เจ้าหน้าที่ของธนาคารกรุงเทพได้เร่งออกไปพบลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจทั่วประเทศ เพื่อให้คำแนะนำและสร้างความเข้าใจในมาตรการดังกล่าว โดยมุ่งหวังให้ลูกค้าได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่และรวดเร็วทันสถานการณ์ ซึ่งลูกค้าให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยแนวทางในการดำเนินการแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก ดำเนินการช่วยเหลือในเรื่องสภาพคล่อง เพื่อให้สามารถประคับประคองกิจการและพนักงานของตนเองได้ ช่วงที่ 2 เมื่อ ธุรกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว ลูกค้ามีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาบริการและผลิตสินค้าให้ได้ครบตามคำสั่งซื้อ ธนาคารก็จะให้ การสนับสนุนในเรื่อง Working Capital และช่วงที่ 3 เมื่อธุรกิจดำเนินไปได้ระดับหนึ่ง อาจต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง Business Model ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้อง การของตลาดที่เปลี่ยนไป ธนาคารก็พร้อมสนับ สนุนให้ลูกค้าสามารถดำเนินการได้ตามแผน

          นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย(B)กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปีกว่าที่ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ธนาคารกสิกรไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่างๆ โดยในส่วนของการให้สินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ธนาคารให้ความ ช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจไปแล้ว 32,600 ราย วงเงิน 93,500 ล้านบาท ล่าสุดเมื่อวิกฤตโควิด-19 ระลอก 3 เกิดขึ้น ธนาคารจึงเดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างเต็มที่ โดยร่วมมือกับธปท.ในการให้ความช่วยเหลือลูกค้าของธนาคาร เพื่อ เพิ่มสภาพคล่องและฟื้นฟูธุรกิจผ่าน 2 มาตรการ ช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งนี้ ธนาคารเตรียมวงเงินสินเชื่อกว่า 15,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ คาดว่าจะสามารถช่วยลูกค้าธุรกิจได้กว่า 10,000 ราย โดยเน้นช่วยเหลือ กลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการรายย่อย

          นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) กล่าวว่า หลังจากที่ธนาคารได้เริ่มเปิดให้สินเชื่อซอฟต์โลนในรอบนี้นับตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2564 เป็นต้นมา มีผู้ประกอบการได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารไทยพาณิชย์ไปแล้วกว่า 4,700 ราย วงเงินสินเชื่อกว่า 6,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อซอฟต์โลนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศ จำนวน 20,000 ล้านบาท รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผ่านโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อร่วมกันประคับประคองผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งเป็น เครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจให้สามารถเดิน หน้าต่อไปได้ ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารไทยพาณิชย์สามารถเริ่มต้นปล่อยสินเชื่อซอฟต์โลนภายใต้โครงการสินเชื่อฟื้นฟู ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากธนาคารได้ปรับกระบวนการทำงานในเชิงรุกยิ่งขึ้น โดยทำการประเมินธุรกิจของลูกค้าทุกรายและเป็นฝายเข้าถึงตัวลูกค้าเพื่อเสนอแนวทางช่วยเหลือ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับอนุมัติสินเชื่อได้อย่างรวดเร็ว สามารถ นำซอฟต์โลนที่ได้รับไปใช้เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ

          ทั้งนี้ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผล กระทบจากสถานการณ์โควิด-19 สำหรับทั้งลูกค้าปัจจุบันที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งสามารถขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูได้สูงสุด 30% ของวงเงินเดิม สูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท (นับรวมกับวงเงิน Soft Loan เดิมที่เคยได้รับตาม พ.ร.ก.).

Reference:

Click icon to remove from or add to favorite list
Click to choose and click "Compare" button