เสนา เจ ผนึก เอ็นอีซี ลุยพัฒนาสมาร์ทโซลูชั่น
พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตด้วยการหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีต่างๆ ในชีวิตประจำวันมากขึ้น แพลตฟอร์มการให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะช่วยทำให้ผู้บริโภคมีเวลาในการทำภารกิจต่างๆ ได้มากขึ้น
ปัจจุบัน เมืองที่เป็นสมาร์ทซิตี้อย่างสหรัฐ จะมีโซลูชั่นในการแก้ปัญหาต่างๆ ออกมาให้บริการแก่ประชาชน แต่สำหรับประเทศไทย ความเป็นสมาร์ท ซิตี้ ยังถือเป็นเรื่องไกลตัว
นางเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนา เจ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ SENAJ กล่าวว่า ข้อจำกัดดังกล่าวนั้น ในฐานะผู้ประกอบการอสังหาฯ จึงมีแนวคิดพัฒนาสมาร์ท โซลูชั่น เพื่อแก้ปัญหาให้กับลูกบ้านในโครงการเสนาฯ จำนวน 200 อาคาร รวมทั้งโครงการใหม่ที่จะเปิดในปีนี้อีก 30 โครงการ
โดยร่วมกับ บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ NEC Thailand ที่ปรึกษาเทคโนโลยีด้านไอที บริษัทระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า 100 ปี ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและการสื่อสารอย่างครบวงจร ร่วมพัฒนาแพลตฟอร์ม “Smart Living Community” ผ่าน Application ที่จะมาเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและ ลูกบ้าน ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Smart Living and Health Care Solutions”
ความร่วมมือกันของทั้ง 2 องค์กร ถือเป็นการขยายโอกาสและเสริมฐานลูกค้าทางธุรกิจให้กันและกัน พร้อมเปิดมิติใหม่ของการอยู่อาศัยให้กับลูกบ้านเสนาฯให้เป็นสมาร์ทคอมมูนิตี้ โดยจะเริ่มต้นจากโครงการทำเลในเมืองก่อน คาดว่าจะสามารถทดลองโครงการได้ภายในปี 2566 นี้
”ความร่วมมือของทั้ง 2 องค์กรในครั้งนี้ ถือเป็นการขยายโอกาสและเสริมฐานลูกค้าทางธุรกิจให้กันและกัน ซึ่งในอนาคตหากต้นแบบการพัฒนาแพลตฟอร์มร่วมกันประสบความสำเร็จ ก็มีแผนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนและนำแพลตฟอร์มต้นแบบดังกล่าวไปให้บริการใน วงกว้างขึ้น เพื่อสร้างรายได้ตอบแทนกลับมาให้บริษัท”
ในเบื้องต้นคาดว่าภายใน ปี 2566 นี้ จะเห็นความชัดเจนของการพัฒนาต้นแบบว่าจะประสบความสำเร็จและสามารถพัฒนา มาสู่การให้บริการแก่ธุรกิจได้ หรือไม่ โดยนำระบบ AI เข้ามา ช่วยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ ข้อมูลเพื่อพัฒนาบริการไม่ใช่แค่ แอปพลิเคชั่นที่เป็นแค่ตัวกลาง เท่านั้น
สำหรับการพัฒนาแพลตฟอร์ม “Smart Living Community” ต้นแบบ บริษัทคำนึงถึง 3 โซลูชั่น ได้แก่
1.โซลูชั่นที่เป็น basic property เช่น การแจ้งเตือนพัสดุ การจ่ายบิลค่าน้ำ-ค่าไฟ เป็นต้น,
2.โซลูชั่น safe & wellbeing หรือความปลอดภัยและสุขภาพ เช่น ระบบจดจำใบหน้า หรือการเก็บข้อมูลเชิงสุภาพ เพื่อเป็นข้อมูลในการรวิเคราะห์ พัฒนาบริการ และ 3.โซลูชั่นที่มีบริการอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าแบบครบวงจร เช่น บริการแม่บ้าน ซักผ้า ฯลฯ
”แนวทางดังกล่าวจะอาศัยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของ NEC ในการพัฒนาทาวน์ชิพ ในญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ใน ประเทศไทยเพื่อเกิดโซลูชั่นที่ดีและเหมาะสมในการใช้งานมากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขต้นทุนต่ำและไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายกับผู้บริการ” นางเกษรา กล่าว
Reference: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ