เทรนด์ที่อยู่อาศัยรักสุขภาพมาแรง แนะรัฐดันไทยสู่ Medical Hub เป็นรูปธรรม ยืดอายุวีซ่ากลุ่มเกษียณอายุซื้อบ้านแพงอยู่ยาว
อสังหาริมทรัพย์
การชูธงผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชีย หร9อ Medical Hub ของรัฐบาล ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาร6มทรัพย์ โรงพยาบาล และศูนย์การแพทย์ต่างๆ ในประเทศ ให้ความสำคัญกับตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เพิ่มมากข8น โดยก่อนหน้านี้ บร6ษัท ธนบุร7 เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) คือกลุ่มโรงพยาบาลที่ก้าวเข้ามาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย “จ6ณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้” โครงการที่นำเอาการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ หร9อ Integrative Healthcare มาผนวกกับที่พักอาศัย ที่ออกแบบมาสำหรับคนทุกวัย พร้อมบร6การและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพตามไลฟ์สไตล์อย่างครบวงจร ภายใต้แนวคิด “เมืองแนวคิดใหม่เพื่อวัยเกษียณ” เข้ามาเป็นทางเลือกใหม่กลุ่มผู้สูงวัย และคนทำงานยุคใหม่ที่วางแผนการใช้ชีวตระยะยาว
ขณะที่ “พฤกษา เรียลเอสเตท” ก็เป็นหนึ่งบริษัทเห็นถึงเทรนด์ความต้องการดูแลสุขภาพ โดยได้ลงทุนในธุรกิจ “โรงพยาบาล” ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนถึง 4,900 ล้านบาท ภายใต้ชื่อโรงพยาบาลวิมุตติ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งก่อนหน้านี้ “ปิยะ ประยงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดแนวคิดการนำบริการดูแลสุขภาพเข้ามาเป็นหนึ่งในบริการหลังการขายสำหรับรองรับความต้องการของลูกค้าในโครงการพรีเมียมในอนาคตหลังการเปิดบริการอย่างเต็มรูปแบบของโรงพยาบาล วิมุตติ อินเตอร์เนชั่นแนล
ขณะที่ “ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้” ก็เป็นอีกค่าย อสังหาฯ ที่มีการจับมือกับกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช ซึ่งให้ความสำคัญในการเปิดตลาดสุขภาพในที่อยู่อาศัย โดยการเชื่อมโยงบริการ “Samitivej Virtual Hospital” เข้ากับแอป “Origin Connect” ให้ลูกบ้านเข้าถึงบริการปรึกษาแพทย์ 24 ชั่วโมง บริการเจาะเลือดและบริการขนส่งยาถึงบ้าน ได้ง่ายๆ ผ่านแอป พร้อมแจกโค้ด ลูกบ้านปรึกษาแพทย์
นอกจากนี้ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) ก็เป็นอีกบริษัทอสังหาฯ ที่รุกตลาดธุรกิจเพื่อสุขภาพ โดยได้ร่วมกับโรงพยาบาล “บำรุงราษฎร์-ไมเนอร์ฯ” เปิดตัวโปรเจกต์ “รักษ” มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นความร่วมมือกับทางศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในการลงทุนและพัฒนาโครงการ “รักษ” ศูนย์บูรณาการสุขภาพและการแพทย์แบบองค์รวม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Fully Integrative Wellness & Medical Retreat”
...อนึ่ง ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ทั่วโลกในปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 6,390 ล้านดอลลาร์ โดยประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาด 802 ล้านดอลลาร์ หรือมีมูลค่า กว่า 24,000 ล้านบาท โดยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงเป็น อันดับ 3 ของโลก โดยกว่า 90% มาจากธุรกิจด้านความงามและการชะลอวัย ธุรกิจการแพทย์เชิงป้องกัน โดยในปี 62 มีนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 3.5 ล้านคน ประเทศไทยถือ เป็นประเทศอันดับ 5 ของโลก ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากที่สุดในโลก เนื่องจากไทยมีความได้เปรียบทางด้านค่ารักษาพยาบาลที่ไม่สูง แต่มีบริการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานระดับสากล โดยมีโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Joint Commission International (JCI) มาตรฐานเป็นองค์กรสากล จากประเทศสหรัฐอเมริกาที่คอยตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อให้การรับรองคุณภาพแก่โรงพยาบาลต่างๆ โดยมีเป้าหมายสำคัญขององค์กร คือการปรับปรุงการดูแลรักษาสุขภาพของโรงพยาบาล ทั่วโลก และคอยให้การสนับสนุนการรักษาและการ บริการทางการแพทย์ให้ปลอดภัยและมีความทันสมัย ซึ่งในประเทศไทยมีศูนย์การแพทย์ที่ได้รับมาตรฐาน JCI แล้วกว่า 40 แห่ง ทำให้ชาวต่างชาติจำนวนมากสนใจ เดินทางเข้ามารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทย
ขณะที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ของเอเชีย เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพทางการแพทย์ของประเทศไทย ซึ่งมีแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะทาง โดยศัลยกรรมความงามของประเทศไทยถือว่าอยู่อันดับต้นๆ ของโลก ส่งผลให้ตลาดธุรกิจศัลยกรรมความงามในประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการส่งเสริมและสนับสนุนให้ไทยเป็น Medical Hub ในเอเชีย รวมถึงธุรกิจด้านสุขภาพ และศัลยกรรมความงามอย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว จะเป็นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย ให้เติบโตอย่างมหาศาล
นายอรรถนพ พันธุกำเหนิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิซซา กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ได้ร่วมกับวี พลาส เมดิคัลกรุ๊ป ลงทุนพัฒนาโครงการนาใต้ เมดิคอลเซ็นเตอร์ แอนด์ รีสอร์ท ในจังหวัดพังงา ใกล้กับสนามบินภูเก็ต เพื่อรองรับเทรนด์และความต้องการผู้บริโภคยุคใหม่ โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยและเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างจังหวัดภูเก็ต เป็นจุดหมายปลายทางของกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยได้รับการยอมรับและได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีการฟื้นตัวและรับมือกับ การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอันดับหนึ่งจาก 184 ประเทศทั่วโลก ในด้านการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่บรรเทาการ ระบาดของเชื้อไวรัสได้ก้าวหน้าที่สุดในโลก และรับมือกับสถานการณ์ความรุนแรงในการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้ดี โดยมีอัตราการติดเชื้อและการระบาด ของไวรัสต่ำ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีระบบการป้องกันระบบคุมการระบาดของเชื้ออย่างเข้มแข็ง และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้รับการยกย่องจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น UN CNN รวมถึง WHO
ทั้งนี้ จังหวัดภูเก็ต ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อติดอันดับหนึ่งใน 10 ของโลก ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามาก กว่า 14 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้ให้กับประเทศมากกว่า 400,000 ล้านบาท วันนี้ประเทศไทยประสบความสำเร็จกับการรับมือกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้ไทยเป็น ประเทศแรกๆ ที่พร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยว และกลายเป็นจุดหมายของชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูง ที่ต้องการสถานที่ปลอดภัยสูงจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และสถานที่พักผ่อนระดับ Exclusive
นอกจากนี้จากการศึกษาข้อมูลทางด้านการ ท่องเที่ยวระบุว่า จังหวัดภูเก็ต ชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ เช่น ศูนย์ทันตกรรม ศูนย์ศัลยกรรมพลาสติก ศูนย์จักษุวิทยา ศูนย์ดูแลสุขภาพ ศูนย์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ศูนย์การผ่าตัด ศูนย์การลด ความอ้วน นอกจากนี้ยังพบอีกว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในจังหวัดภูเก็ต จะใช้ระยะเวลาในการพักผ่อนอยู่ในจังหวัดภูเก็ตประมาณ 12 วัน ในระหว่างที่เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ โดยกลุ่ม นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจากออสเตรเลียและประเทศจีนเป็นหลัก ซึ่งต่อคนมีค่าใช้จ่ายต่อหัวอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาท
นพ.พิชาญศักดิ์ บุญมาศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วี พลาส เมดิคัลกรุ๊ป ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งความงามและการดูแลสุขภาพ กล่าวว่า โอกาสของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของประเทศไทย ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการควบคุมและรักษาการแพทย์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ยังส่งผลดีต่อการ ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งจากการจัดลำดับความปลอดภัยทางด้านสาธารณสุขของโลกประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับ 1 ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย และอยู่อันดับ 6 ของโลก ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางด้านบริการทางการแพทย์ของประเทศไทย ดังนั้นปัจจุบันโอกาสของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศไทยจึงเปิดกว้างมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันรวมถึงในตลาดโลกด้วย
ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกในด้านบริการทางด้านการแพทย์ ก่อนเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีคนไข้เข้ามารับการรักษาและฟื้นฟูในประเทศไทยจำนวนมาก ซึ่งการเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถือเป็นโอกาสดีของประเทศไทย เพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการดำเนินชีวิตรวมไปถึงการเปลี่ยนรูปแบบความคิดในการใช้ชีวิต ซึ่งตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ทำการสำรวจและวิจัยตลาดในทุกภาครวมถึง กทม. พบภูเก็ต คือกรีนโซน เป็นลักชัวรีบีช เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว คนไทยและชาวต่างชาติ เหมาะแก่ การรองรับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ซึ่งล้อไปกับนโยบายการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub
นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการบริษัท ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอลซัลแทนซี่ จำกัด กล่าวว่า นโยบายภาครัฐที่ต้องการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ของภูมิภาคเอเชีย นั้นมีมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมใดๆ ออกให้เห็น มีเพียงมาตรการการรีไทร์เมนต์วีซ่าที่มีความคืบหน้า แต่อายุของวีซ่าดังกล่าวก็ยังไม่เอื้อต่อการอยู่อาศัยระยะยาว สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวเกษียณอายุที่เข้ามาพักอาศัยในประเทศไทยมากนัก ซึ่งล่าสุดสมาคมอสังหาริมทรัพย์ ได้ยื่นข้อเสนอในการออกมาตรการสนับสนุนให้ชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เช่น การให้วีซ่าระยะยาวสำหรับกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทยระดับราคา 8 ล้านบาทขึ้นไป โดยให้กลุ่มชาวต่างชาติดังกล่าวได้รับวีซ่าระยะยาวขึ้นเมื่อซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย
ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มเกษียณอายุที่ต้องการเข้ามาพักอาศัยในประเทศไทยระยะยาว รัฐบาลควรมีความชัดเจนในเรื่องการออกมาตรการยืดอายุวีซ่า เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทยในระดับราคาต่างๆ ที่รัฐบาลกำหนด เพื่อซัปพอร์ตกลุ่ม ดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของสมาคมอสังหาฯ ที่มีการยื่นข้อเสนอไปในช่วงก่อนหน้านี้ โดยก่อนหน้านี้ การออกวีซ่าให้กับกลุ่มผู้เกษียณอายุที่ต้องการเข้ามาพักอาศัยในประเทศ กำหนดให้ผู้ขอวีซ่ารูปแบบดังกล่าวต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไป และต้องมีเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์ในสถาบันการเงินไทยไม่น้อยกว่า 800,000 บาท และ มีรายได้ต่อเดือนจากประเทศต้นทาง 65,000 บาท หรือ มีรายได้โอนเข้าบัญชี 800,000 ต่อปีจะได้รับวีซ่าเกษียณอายุระยะเวลา 1 ปี และต้องต่ออายุวีซ่าใหม่ โดยต้องเดินทางกลับประเทศและพักอาศัยในประเทศต้นทางไม่น้อยกว่า 90 วัน จึงสามารถขอวีซ่าใหม่และสามารถกลับมาอยู่อาศัยในประเทศไทยได้ 1 ปี ซึ่งหากมีการแก้ไขข้อกำหนดใหม่ โดยเปิดให้ชาวต่างชาติกลุ่มนี้สามารถต่ออายุวีซ่าใหม่ได้ทันที โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง ก็จะช่วยส่งเสริมให้ตลาดนี้ขยายตัวมากขึ้นไปอีก
“สำหรับสถานการณ์การเข้ามาอยู่อาศัยระยะยาวของกลุ่มผู้เกษียณอายุชาวต่างชาติในปัจจุบัน พบว่ามีจำนวนมากขึ้นโดยส่วนใหญ่จะเข้ามาพักอาศัยในพื้นเมืองหัวหิน ชะอำ ขณะเดียวกันแนวโน้มการเข้ามาใช้บริการศูนย์การแพทย์ต่างๆ ของชาวต่างชาติในประเทศไทยก็มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น โอกาสของตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อเชิงสุขภาพ จึงเป็นกลุ่มตลาดที่มีอนาคต ซึ่งจะเข้ามาช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ หลังการเปิดรับนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้ง”
Reference: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา