อีอีซีขยับนิคม ซีพีจีซี จ่อปิดดีล50ทุนข้ามชาติ

03 Dec 2020 415 0

         นักลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี เริ่มเคลื่อนไหวหลังรัฐบาลเร่งรัดลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ขนาดใหญ่ ขยับหลายโครงการ ไล่ตั้งแต่รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่มีเป้าหมายส่งมอบพื้นที่ให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือ กลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ เฟสแรก ตั้งแต่ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ ไปยังสนามบินอู่ตะเภา ส่งผลให้เกิดความมั่นใจให้การลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ กิดความมั่นใจเดินหน้าพัฒนาโครงการต่อเนื่อง

          แม้จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ก็ตาม โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมซีพีจีซีของบริษัท ซี.พี.แลนด์จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่บริเวณตำบลมาบข่า อำเภอบ้านค่ายจังหวัดระยองภายใต้ การร่วมดำเนินงานระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และบริษัท ซีจี คอร์เปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นความร่วมมือกันของบริษัทซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ปรัฐวิสาหกิจจากมณฑลหนานหนิง ที่มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่

          ล่าสุดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในโครงการแล้วเสร็จ และปีหน้าเตรียมพร้อมขยับเฟส 2 และเฟส 3 ต่อเนื่องทันทีบนที่ดิน3,068 ไร่ ที่ซื้อสะสมมาตั้งแต่ปี2533 ทั้งนี้ นายสุนทร อรุณานนท์ชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัทซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่าตลอดระยะเวลา2 ปี บริษัทเดินหน้าก่อสร้างนิคมอุตสาห กรรมอย่างต่อเนื่องแม้อยู่ในช่วงโควิด-19 โดยให้ความสำคัญกับระบบสาธารณูปโภค อาทิ ระบบสายไฟฟ้าลงใต้ดินโครงข่ายถนนเชื่อมภายในและนอกตัวนิคมอุตสาห กรรม ด้วยถนนขนาด 6 ช่องจราจร ลดผลกระทบจราจรและมั่นใจว่าปีหน้าจะเปิดให้นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจีนที่ จับจองพื้นที่เข้าพื้นที่ตามมาตราการเปิดประเทศของรัฐบาล

          อย่างไรก็ตามหากตระเวณ รถไปตามเส้นทางของทางหลวงหมายเลข 3191 มาบตาพุด-แยกนิคมพัฒนา จะพบว่าถนนเส้นนี้ล้วน เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ 3 ราย ใหญ่ประกอบด้วยนิคมอมตะซี้ตี้ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ และนิคมอุตสาหกรรมซีพีจีซีคาดว่าการดึงลูกค้า เข้าพื้นที่ของแต่ละค่าย ย่อมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับซีพีแลนด์ ซึ่งนายสมเกียรติ เรือนทองดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซี.พี.แลนด์ ระบุว่าถนนเส้นนี้ มีนิคมอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ 3 รายโดย ซีพีจีซีมีขนาดใหญ่ที่สุด ขณะการก่อสร้างเฟสแรกรวม สาธารณูปโภคแล้วเสร็จ 1,000ไร่ ล่าสุดมีกลุ่มนักลงทุนจีน ไต้หวัน ยุโรป ให้ความสนใจพื้นที่โดยเฉพาะจีนมากถึง50 รายเสนอขายผ่านช่องทางออนไลน์ จากพื้นที่เฟสแรก80 แปลง เพื่อตั้งโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่ากลางปี 2564 จะสามารถเปิดให้ต่างชาติเข้าพื้นที่เยี่ยมชมสถานที่จริงและ ลงนามในสัญญาได้

          ทั้งนี้ นิคมซีพีจีซี ตั้งอยู่ห่างจาก ท่าเรือมาบตาพุด 10กิโลเมตร สถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา 35 กิโลเมตร ท่าเรือแหลมฉบัง 60 กิโลเมตร กทม. 160 กิโลเมตร

          ”ฐานเศรษฐกิจ”ตรวจสอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ พบว่ามีพื้นที่กว่า10,000ไร่ ในพื้นที่เขตอีอีซี จังหวัดชลบุรีและ ระยอง ขณะเดียวกับยังมีแผนขยายพื้นที่ต่อเนื่อง โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเน้นญี่ปุ่นเป็นหลัก เช่นเดียวกับ นิคมดับบิวเอชเอ ที่ มีพื้นที่รองรับนักลงทุนต่างชาติมากเช่นกัน

Reference:

Click icon to remove from or add to favorite list
Click to choose and click "Compare" button