อสังหาฯรับมือ สึนามิโควิด-19 เสียงสะท้อน!เป็นไปได้ยาก6-12เดือนจะฟื้น
อสังหาริมทรัพย์
ในช่วงปลายปี 2512 ต่อเนื่องถึงปี 2513 ได้เกิดการระบาดใหญ่ของไวรัส COVID-19 เริ่มจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและได้ลุกลามแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สภาพสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลก ภาคธุรกิจต่างๆ ต้องประสบปัญหาหยุดกิจการหรือปิดตัวชั่วคราว ทำให้ประชาชนตกงานและขาดรายได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบไม่รุนแรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือสายการบินก็ตามแต่ ก็คาดว่าคงใช้เวลานานในการฟื้นตัว
ทางหนังสือพิมพ์ “ผู้จัดการรายวัน360 องศา” ได้นำเสนอใน บางมุมมองของผู้ประกอบการในวงการอสังหาฯไทย ที่ถูกถ่ายในวารสาร GHB-REIC เพื่อบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ที่มหันตภัย จาก COVID -19 ได้คร่าชีวิตมนุษยชาติทั่วโลกไปหลายล้านคน โดยเสียงสะท้อนดังกล่าว มาจากสมาคมอสังหาฯไทย, สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร, สมาคมอาคารชุดไทย, สมาคมอสังหาฯชลบุรี, สมาคมอสังหาฯเชียงใหม่ และสมาคมอสังหาฯภูเก็ต เป็นต้น มาฉายภาพให้เห็นถึงผลกระทบจาก COVID -19 ต่อภาคธุรกิจอสังหาฯ
มาตรการรัฐจาเป็น ช่วยธุรกิจให้อยู่รอด
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาฯไทย กล่าวว่า ธุรกิจอสังหาฯได้รับผลกระทบมากเช่นกัน ถึงแม้ไม่รุนแรง เช่น ธุรกิจ ท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน ธุรกิจส่งออกบางประเภท ที่ต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัวและเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งมาในรูปของหนี้สินที่ต้องใช้ ฟื้นธุรกิจให้กลับมา อสังหาฯประเภทเช่า เช่น ห้างสรรพสินค้าและพื้นที่เชิงพาณิชย์ต่างๆ เกิดปัญหาด้านอัตราค่าเช่าเดิม ถึงแม้มีการปรับลดลงบ้าง แต่เทียบแล้วดูสูงมาก เมื่อเทียบกับจำนวนลูกค้าและรายได้ที่ต้องใช้เวลาค่อยๆ ฟื้นตัวในระยะหนึ่ง
ส่วนอสังหาฯเพื่อการขายเช่น บ้านและคอนโดฯ ก็ประสบปัญหา ยอดขายที่ลดลงอย่างมาก ทำให้มียอดคงเหลือจำนวนมากเมื่อเทียบกับ ปีที่แล้ว นอกจากนั้นยังประสบปัญหาการเข้มงวดของสถาบันการเงิน ซึ่งจะส่งผลต่อกระแสเงินสด หมุนเวียนในธุรกิจอย่างมาก ความช่วยเหลือจากภาครัฐฯ มีความจำเป็นอย่างมากต่อการรักษาธุรกิจให้อยู่รอด ซึ่ง ก็ต้องปรับเพื่อให้ได้รับกันอย่างทั่วถึงในอนาคต
“ท่ามกลางข่าวร้าย ก็ยังพอได้ทราบข่าวจากเพื่อนๆ ที่พัฒนาโครงการแนวราบรายกลางและรายเล็กรอบๆ กรุงเทพฯและในภูมิภาค หลายราย ยังมียอดขายที่ลดลงไม่มาก และยังมีสภาพคล่องอยู่พอควร เนื่องจาก ไม่ได้ขยายโครงการเกินกำลังมากก่อนหน้านี้ และมียูนิตเหลือขายไม่มาก นอกจากนี้ ตลาดแนวสูงที่มีจำนวนหน่วยเหลืออยู่มากในเขตกรุงเทพฯ หลายราย ก็ยังมียอดขายที่ใช้ได้อยู่ในหลายทำเล เพียงแต่ต้องหาทางหมุนสภาพคล่อง ให้สามารถสร้างอาคารจนเสร็จและโอนโดยเร็ว”
การปรับตัว เพื่อการเปลี่ยนผ่านในสภาวการณ์เช่นนี้ มีความ จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากวิถีชีวิตของผู้บริโภคได้มีการเปลี่ยนไปใช้ สื่อออนไลน์ และแพลตฟอร์มด้านต่างๆ กันมากขึ้น เนื่องจากสภาวะที่ ต้องหยุดอยู่กับบ้านเป็นระยะเวลานานๆ การเข้าถึงและอยู่ในใจของลูกค้า โดยใช้กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนั้น จะต้องมีการสังเกต ตรวจสอบ ปรับปรุง และติดตามผล เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า เป้าหมายในกลุ่มต่างๆ ซึ่งพฤติกรรมหลายอย่างมีการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นและหลายพฤติกรรม ก็จะอยู่ถาวรไปในแบบ New Normal เช่น ในเรื่อง สุขภาพและอนามัย ความปลอดภัย และเทคโนโลยี เป็นต้น หากสามารถนำมาปรับใช้เป็นมาตรฐานและสร้าง เป็นกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ ก็จะสามารถสร้างยอดขายได้อย่างแตกต่าง
สิ่งสำคัญ ต้องรักษากระแสเงินสด
นายวสันต์ เคียงศิริ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า สิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการในสถานการณ์นี้คือ “การรักษากระแสเงินสด” ซึ่งต้องบริหารให้กระแสเงินออกสมดุลกับกระแสเงินเข้าที่ลดลง สำหรับ ผู้ประกอบการแนวราบ สามารถชะลอการพัฒนาโครงการเพื่อช่วยเรื่อง กระแสเงินสดได้ เนื่องจากมีการแบ่งเป็นเฟสในการพัฒนา สามารถปรับลดปริมาณ Supply ให้สอดคล้องกับปริมาณ Demand ที่ลดลง และเป็นการลดปริมาณเงินกู้และภาระดอกเบี้ยไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการที่ชะลอตัวไม่ได้หายไปจากตลาด เมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย ความต้องการที่ถูกสะสมไว้ก็จะไหลกลับเข้าสู่ตลาด
สำหรับกำลังซื้อภาคธุรกิจอสังหาฯแนวราบ ซึ่งเป็น Real Demand ที่ต้องการอยู่อาศัยจริง คาดว่าจะกลับเข้าสู่ตลาดเป็นคลื่น 3 ระลอกคลื่น ระลอกแรกจะเกิดเมื่อมีการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ ผู้ซื้อที่มีความพร้อม จะสามารถเข้าเยี่ยมชมโครงการ และเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในราคาและเงื่อนไขพิเศษต่างๆ จากผู้ประกอบการ คลื่นระลอกที่สอง จะตามมาเมื่อผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID -19 คลี่คลาย และผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมีความมั่นใจในรายได้เพิ่มขึ้น และระลอกที่สาม กำลังซื้อส่วนที่เหลือ จะกลับเข้าตลาดเมื่อภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว
ส.อาคารชุดไทย เสนอมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ
ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การปิดสถานประกอบการ ได้ส่งผลให้คนตกงานขาดรายได้ ธุรกิจส่วนใหญ่สูญเสียรายได้ไปมากน้อยตามแต่ละประเภทสินค้า และแม้แต่ธุรกิจ อาคารชุดก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตามไปด้วยเช่นกัน กล่าวคือ (1) ยอดขายเดิมก่อนการเกิดโรคระบาด ลูกค้าบางส่วนมีการขอเลื่อนการ โอน หรือขอยกเลิกการซื้อ (2) ยอดขายใหม่ในระหว่างที่เกิดการระบาด จำนวนลูกค้าที่มาเยี่ยมชมโครงการน้อยลงกว่า 80% และยอดขายน้อยลง 90% (3) ในโครงการที่เคยขายให้ต่างชาติ เกือบไม่มีการเข้าเยี่ยมชม ยอดขายน้อยลง 95-98%
จากผลที่เกิดขึ้นข้างต้น คาดว่าหลังวิกฤตการณ์ COVID -19 คนไทยและชาวต่างชาติ 80-90% อาจยังไม่มีความต้องการซื้อห้องชุด ซึ่งต้อง ใช้เวลา 3-9 เดือนในการทยอยกลับมา
ในฐานะที่อสังหาฯมีขนาดมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ปี 2562 เป็นจำนวนเงินราว 875,000 ล้านบาท นำส่งภาษีทางตรงราว 76,000 ล้านบาท และเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบและแรงงานในประเทศในระดับสูงมาก อีกทั้ง เป็นตัวขับเคลื่อนในอุตสาหกรรมการผลิตต่อเนื่องอื่นๆ ถึง 3 เท่าตัว จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาใช้อสังหาฯเป็นตัวกระตุ้นการบริโภคภายใน ประเทศ และการส่งออก (Export) แก่ชาวต่างชาติ ดังนี้ คือ พิจารณาลดค่าธรรมเนียมการโอน จำนอง และภาษีธุรกิจเฉพาะปี 2563 แก่อาคารชุด และบ้านที่ได้รับอนุญาตจัดสรรทุกระดับราคา เพื่อกระตุ้นในผู้มีเงิน เหลือเก็บในระดับบนและกลาง ตัดสินใจใช้เงินในช่วงเวลานี้โดยเร็ว เลื่อนการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไปเป็นการชั่วคราวถึงปี 2565 ระงับการใช้เกณฑ์ LTV ออกไปชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะฟื้นตัว ให้สถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อแก่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัย จากประวัติที่อาจ เคยผิดนัดการชำระหนี้ลดจาก 3 ปีเหลือ 1 ปี โดยขอให้ธนาคารของรัฐเป็นผู้นำร่อง ขยายระยะเวลาการให้วีซ่าเป็นครั้งละไม่เกิน 1 ปี ไม่จำกัดจำนวนครั้งเป็นเวลา 10 ปี แก่ผู้ซื้อห้องชุดใหม่ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป และพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.การเช่าอสังหาฯ เพื่อการพาณิชยกรรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ 2542 ให้ครอบคลุมถึงการเช่าเพื่อการอยู่อาศัยด้วย
อสังหาฯภูมิภาค เดี้ยง ยอดโอนทรุด เป็นไปได้ยาก 6-12 เดือนข้างหน้าจะฟื้นตัว
นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ชลบุรี กล่าวว่า จากสภาวะดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักปัจจัยเดียว ที่ส่งผลต่อการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาฯ ความถดถอยของภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคบริการ ซึ่งเป็นเครื่องจักรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เกิดการถดถอยอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวฉุดให้ GDP ของประเทศลดลงในช่วงเวลาที่ผ่านมา เท่ากับว่าหากไม่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ แนวโน้ม GDP ของประเทศ ตลอดจนภาคอสังหาฯ คาดว่าจะชะลอตัว ต่อเนื่องเช่นกัน และเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส เท่ากับเป็นการเพิ่มความรุนแรงของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาคอสังหาฯเกิดความถดถอย ชะลอตัวยิ่งขึ้นไปอีก
จากสถานการณ์ของภาคอสังหาฯ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งจะเป็นตัวฉุดดัชนีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเท่ากับว่า หากยังคงดำเนินการตามปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ตามที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ย่อมมีความเป็นไปได้ที่ภาวะอสังหาฯจะเกิดการถดถอยลงไปมากกว่านี้ ดังนั้น หากจะให้อุตสาหกรรมอสังหาฯจะสามารถเป็นเครื่องจักรที่จะสร้างการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับประเทศท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่รออยู่ข้างหน้า
1. การออกเงื่อนไขสนับสนุนให้ผู้ยังมีสภาพคล่อง (เงินสด) นำมาลงทุนซื้อที่พักอาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยเช่า โดยยกเว้นภาษีที่เกี่ยวข้อง และให้สิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่อสนับสนุน ให้เกิดการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์
2. หากมีการผ่อนปรนเงื่อนไขการถือครองอสังหาฯของชาวต่างชาติ นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้เข้าประเทศจากภาคอสังหาฯอย่างเป็นกอบเป็นกำแล้ว ยังทำให้เกิดรายได้ต่อเนื่องสู่ชุมชนท้องถิ่นโดยตรง
“ไม่ว่าสถานการณ์ที่รุนแรงใดๆ ที่เกิดขึ้น ประเทศย่อมต้องเดิน ต่อไปเพื่อแสวงหาโอกาสความอยู่รอด การปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเป็นพลวัตเป็นสิ่งที่ต้องทบทวนเสมอ เพื่อมิให้พบกับ “ทางตัน” ในวิกฤต ย่อมมีโอกาส หากเราไม่ยึดติดกับความคิดเดิมๆ”
นายปราชญ์ วงศ์วรรณ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ กล่าวยอมรับว่า ลูกค้าที่ซื้อไปแล้ว ปัจจุบันเริ่มประสบกับภาวะการขาดรายได้ จากการปิดกิจการชั่วคราว และการลดชั่วโมงการทำงาน ทำให้การพิจารณาสินเชื่อของธนาคารยากขึ้นไปอีก โดยอัตรา Rejection Rate เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ในส่วนของตลาดอสังหาฯ เพื่อเช่า นั้นมีแนวโน้มว่าผู้เช่าจะขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะ SME เนื่องจากเริ่มมีสัญญาณว่าไม่สามารถจ่ายค่าเช่าและค่าน้ำค่าไฟได้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ทำร้านอาหาร ผู้เช่าไม่สามารถดำเนินธุรกิจ โดยไม่เปิดร้านเพื่อนั่งทานได้ การ delivery อย่างเดียวไม่สามารถสร้างรายได้ให้เพียงพอ คาดว่าน่าจะมีการทยอย ปิดกิจการ ต้องใช้ความพยายามรับรู้รายได้จากลูกค้าเดิมที่ซื้อไปแล้ว และรอการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบเช่น เคย Pre-approve กู้ผ่านแล้ว พอจะโอนจริงกลับกลายเป็นไม่ผ่าน ผู้ประกอบการอาจต้องช่วยเหลือลูกค้า ด้วยการขยายระยะเวลาผ่อนดาวน์ หรือการโอนกรรมสิทธิ์ออกไปพลางๆ ก่อน
ในส่วนของลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวจีน กลุ่มหลักของอสังหาฯในเชียงใหม่นั้น เท่าที่สอบถามกับเอเยนต์ขายแล้ว ปรากฏว่าลูกค้าชาวจีนยังคงมีความต้องการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอยู่ เนื่องด้วย ชาวจีนรู้สึกว่าการมีบ้านหลังที่ 2 ในต่างประเทศจะมีความปลอดภัยกับเขามากขึ้น ถ้าหากเกิดเหตุการณ์โรคระบาดอีก
“ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีมุมมองในภาพรวมของอสังหาริมทรัพย์ ใน 6-12 เดือนข้างหน้า ว่าโอกาสในการฟื้นตัวเร็วจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากแนวโน้มในการรักษาโรคระบาดที่เกิดขึ้น ด้วยวัคซีน หรือการที่จะทำให้โรคระบาดหายขาดนั้น น่าจะใช้เวลานานกว่า 12 เดือน ในส่วนผลกระทบกับผู้รับเหมาก่อสร้างนั้น ต้องพิจารณาเรื่องกระแสเงินสดของบริษัท อสังหาฯ การขายที่ทำได้มากแค่ไหน เพราะถ้าสุดท้าย หากเริ่มขาดรายได้จากการขายยูนิตใหม่ หรือลูกค้ากู้ไม่ผ่านมากขึ้น ก็เป็นไปได้ที่จะทำให้ Cashflow ติดขัด ผู้ประกอบการคงจะต้องเก็บเงินไว้เพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายรายเดือน แล้วทำการลดการก่อสร้างใหม่ลง ซึ่งน่าจะทำให้แรงงานฝั่ง ผู้รับเหมาไม่มีงาน ทำผู้ประกอบการหลายราย เลือกที่จะพักกิจกรรมการลงทุนใหม่ออกไปก่อน
นายพัทธนันท์ พิสุทธิ์วิมล นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต กล่าวว่า ในช่วงปีแรกหลังวิกฤต COVID -19 ตลาดระดับกลางล่างระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาทชะลอตัว เนื่องจากภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจากการตกงานหรือรายได้ที่ลดลง ส่วนในตลาดกลางถึงบนจะยังมีกำลังซื้ออยู่ โดยเฉพาะการลงทุนจากต่างชาติ เช่น จีน รัสเซีย เนื่องจากเห็นความสามารถในการจัดการโรคระบาดของไทย ส่วนด้านการลงทุนในภาค อสังหาฯในจังหวัดภูเก็ต จะเน้นไปขายตลาดต่างชาติมากขึ้น การขาย ตลาดคนไทยจะจับตลาดเฉพาะมากขึ้น และโครงการจะมีขนาดที่เล็กลง นอกเหนือจากบริษัทมหาชนจากส่วนกลาง ที่จะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพราะมีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่าผู้ประกอบการท้องถิ่น รวมถึงการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่นจะมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้นด้วย
...ทั้งนี้ แม้สถานการณ์ COVID -19 ในไทยจะเริ่มคลี่คลาย แต่ทั่วโลก ซึ่งเป็นคู่ค้าของไทย ยังประสบวิกฤตผู้ติดเชื้อทะลุ 11 ล้านคน ขณะที่ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก ตลาดหุ้นเสียหายอย่างหนักจากวิกฤตครั้งนี้ แน่นอน ระยะนี้เป็นช่วงของการประคับประคองและเยียวยา แต่ข้างหน้า คลื่นยักษ์ สึนามิจาก COVID -19 จะระเบิดขึ้น ทั้งเรื่อง ปัญหาการว่างงาน ผลประกอบการทางธุรกิจที่ชะลอตัวลง ซึ่งจะนำไปสู่ให้เกิดปัญหาหนี้เสียในระบบ และการที่ภาคธุรกิจจะกลับมาพลิกฟื้นก่อน COVID -19 อาจจะไม่ได้เห็นในเร็ววันนี้?.
ผลสำรวจพบ หลังจบวิกฤต COVID-19 ดีมานด์ซื้ออสังหาฯยังมี-ต่ำ 5 ล.สัดส่วนสูง
หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด ที่ส่งผลภาคเศรษฐกิจเกิดผลกระทบ ทุกภาคส่วน แต่ ถ้าถามว่า ภาคเศรษฐกิจไหนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด หนึ่งในนั้นคงจะเป็นภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจากงานวิจัย ของ แผนกวิจัยและการสื่อสาร คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้ชี้ให้เห็นอีกว่า ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 มีปัญหาอยู่จริง โดยในไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดใหม่เพียงแค่ 16 โครงการ 5,880 ยูนิต ถือว่าเป็นอุปทาน เปิดใหม่ต่ำสุดในรอบ 8 ปี เท่านั้นยังไม่พอ งานวิจัยยังได้รายงานอีกว่า อัตราขายรวม ของคอนโดมิเนียมเปิดใหม่ในช่วงไตรมาสที่ 1 มีอัตราการขายเฉลี่ยประมาณ 31% เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการขายเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี หรือในรอบ 40 ไตรมาสที่ผ่านมา
ทำให้ Developer ของประเทศไทย ต่างมีความไม่มั่นใจว่า ในตลาดยังมีกำลังซื้ออยู่จริงๆหรือไม่ และหลังจากสถานการณ์ดีขึ้น กำลังซื้อจะกลับมาไหม และมีอยู่จริงหรือไม่ ทำให้ นี่คือสาเหตุที่ทาง Terrabkk ได้จัด ทำแบบสอบถาม เรื่องของการตัดสินใจซื้อ อสังหาฯ หลังจบวิกฤตโควิด-19 เพื่อที่จะทราบว่า หลังจบ โควิด-19 หรือสถานการณ์ในประเทศไทยดีขึ้น ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยยังมีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อมากน้อยขนาดไหน? จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมหรือไม่?
จากผลแบบสอบถาม มีจำนวนผู้ตอบทั้งหมด 124 คน พบว่า ความสนใจซื้ออสังหาฯ หลังจบวิกฤตโควิด-19 มีผู้ที่สนใจซื้อ 61% และไม่สนใจซื้ออสังหาฯ 39% โดยสาเหตุ อันดับ 1 ที่สนใจ คือ อสังหาฯ มีราคาลดลง 20% รองลงมาคือ มีโปรโมชันที่น่าสนใจ 16% และอันดับที่ 3 คือ มีทำเลที่ดีตรงกับความต้องการกับกลุ่มลูกค้า 15%
ประเภทที่มีความสนใจซื้อ อันดับที่ 1 คือ คอนโดมิเนียม 33% รองลงมาคือ บ้านเดี่ยว 24% และอันดับที่ 3 คือ ประเภทที่ดิน 20% ในด้านของงบประมาณ อันดับที่ดี 1 คือ อสังหาฯมูลค่า 2-3 ล้านบาท 32% รองลงมาคือ กลุ่ม 3-5 ล้านบาท 28% และน้อยกว่า 2 ล้านบาท 20% สำหรับระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ประมาณ 6-12 เดือน 38% รอง ลงมา 3-5 เดือน 32% และใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อมากกว่า 1 ปี 20%
เราลองมาดู ในส่วนของกลุ่มที่ไม่สนใจซื้ออสังหาฯกันบ้างว่า มีความคิดเห็นอย่างไร สำหรับสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้กลุ่มนี้ ยังไม่สนใจซื้ออสังหาฯในช่วงนี้คือ ความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจ 66% รองลงมา คือ ความ ไม่มั่นคงทางด้านรายได้และการงาน 54% อันดับที่ 3 อสังหาฯมีราคาสูงเกินไป 32%
และทาง Terrabkk ได้ถามอีกว่า ในอนาคต 1-2 ปี หากเศรษฐกิจดีขึ้น ท่านมี ความสนใจที่ซื้ออสังหาฯหรือไม่ ผลสรุปว่า มีผู้ที่สนใจจะซื้ออสังหาฯ 54% ไม่สนใจที่จะซื้อเลย 33% และรอดูสถานการณ์ 13%
สรุปจากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า สถานการณ์ความต้องการในการซื้อบ้านนั้น ยังมีอยู่พอสมควร สาเหตุที่ทำให้คนมีความต้องการซื้ออยู่ มาจากราคาอสังหาฯที่มีการ ปรับตัวลดลง และหลายๆ Developer ต่าง ก็ออกโปรโมชันต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิด กำลังซื้อ ระดับราคาที่คนให้ความสนใจใน การซื้อ คือ Segment กลางถึงล่าง หรือ อสังหาฯ ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 5 ล้านบาทลงมา
สำหรับ ผู้ที่ไม่มีความสนใจซื้ออสังหาฯในช่วงนี้ ส่วนใหญ่ยังมีความกังวลในเรื่อง ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจ และความกังวลในเรื่องรายได้และการทำงาน จากกรณีดังกล่าว หากภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมมือกันในการ กระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ รู้สึกถึงความมั่นคง ภาคอสังหาฯก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ด้วย
Reference: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา