สินเชื่อบ้านปีหน้าโต5.2% อานิสงส์การผ่อนปรนมาตรการ LTV
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การผ่อนเกณฑ์ การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและ สินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่อง (มาตรการ LTV) โดยปรับเพดาน LTV เป็น 100% (กู้ได้เต็ม มูลค่าหลักประกัน) ชั่วคราวจนถึงสิ้นปี 2565 จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการซื้อที่อยู่อาศัย ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของตลาดที่อยู่อาศัยและการปล่อยสินเชื่อบ้านของสถาบันการเงินในช่วงที่เหลือของปีนี้และในปี 2565 ที่ยังเต็มไปด้วยหลายปัจจัยท้าทาย
หากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว ดีขึ้น สถานการณ์โควิดทุเลาลง ภาวะเงินเฟ้อ ในประเทศไม่รุนแรง การผ่อนปรนเกณฑ์ มาตรการ LTV ในครั้งนี้ จะช่วยหนุนให้ตลาด ที่อยู่อาศัยทยอยปรับตัวดีขึ้นในช่วงปี 2565 ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศตลอดช่วงเวลาของมาตรการฯ จะเพิ่มขึ้นจากที่ เคยคาดไว้คิดเป็นมูลค่าราว 18,000-30,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีมาตรการฯ
ขณะเดียวกัน ผลของการผ่อนคลาย มาตรการ LTV คงจะเปิดโอกาสให้สินเชื่อบ้าน เติบโตในกรอบที่สูงขึ้นในปี 2565 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินเบื้องต้นว่า การผ่อนปรนมาตรการ LTV จะทำให้ สินเชื่อบ้านปี 2565 มีโอกาสเติบโต เพิ่มเติมได้ประมาณ 0.3-0.7% ไปอยู่กรอบ 4.8-5.2% สูงขึ้นกว่ากรอบคาดการณ์ปี 2564 ที่ 4.2-4.5%
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวว่ามาตรการ ผ่อนคลายที่ออกมาทำให้ผู้ซื้อมีกำลังซื้อ เพิ่มขึ้น แทนที่จะต้องมีเงินก้อนเพื่อวางดาวน์ ร้อยละ 10-30 ของมูลค่าหลักประกัน ก็ไม่จำเป็น ต้องมีเงินก้อนเพื่อมาวางดาวน์ ช่วยให้ผู้ซื้อ ที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่มีความสามารถในการผ่อนชำระแต่ไม่มีเงินก้อนสามารถที่จะเป็นเจ้าของบ้านได้ โดยกลุ่มสินค้าที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการผ่อนคลายนี้เป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยพร้อมอยู่ พร้อมโอน ซึ่งมีอยู่ในตลาดตอนนี้ประมาณ 750,000 ล้านบาท เป็นส่วนของคอนโดมิเนียม ประมาณ 300,000 ล้านบาท และแนวราบ ประมาณ 450,000 ล้านบาท ในส่วนของ LPN เองมีสินค้าที่พร้อมอยู่พร้อมโอนประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการนี้”
อย่างไรก็ตาม นอกจากมาตรการผ่อนคลาย LTV แล้ว นายโอภาสกล่าวว่า มาตรการสำคัญที่จะสามารถกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ได้คือ การผ่อนคลายความ เข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ของสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาใหญ่ สำหรับผู้ซื้อบ้าน โดยปัจจุบันมีอัตราการปฏิเสธ สินเชื่ออยู่ที่ประมาณ 40-50%
Reference: หนังสือพิมพ์แนวหน้า