มาตรการรัฐหนุนศก.Q4

28 Nov 2020 571 0

          คลังชี้จีดีพีติดลบน้อยลง

          ปลื้มภาพรวม’ส่งออก’ดี

           ”คลัง” ลุ้นอานิสงส์มาตรการรัฐหนุนเศรษฐกิจไตรมาส 4/2563 ฟื้นตัวต่อเนื่อง เข็นจีดีพีปีนี้ติดลบน้อยกว่าคาดการณ์ ชี้ภาพรวมส่งออกฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ตัวเลขส่งออก 9 ประเทศกลุ่มอาเซียนติดลบหนัก 23.1%

          นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ใน ฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ประ เมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2563 จะปรับตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 3/2563 และคาดว่าภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีนี้จะขยายตัวติดลบน้อยกว่าที่คาดการณ์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่ได้ผลักดันออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกำลังทยอยเห็นผล ทั้งโครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน รวมถึงโครงการช้อป ดีมีคืนที่จะส่งผลดีกับเศรษฐกิจในระยะต่อไป ขณะที่การส่งออกก็มีทิศทางดีขึ้นเช่นกัน

          ”ขณะนี้ภาพเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4/2563 ออกมาแล้ว 80-90% แต่ยังเหลือปัจจัยสำคัญอย่างภาพรวมทั้งหมดของภาคการ อุตสาหกรรมการผลิต ภาคการท่อง เที่ยว รวมถึงการจัดงานมหกรรมเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อต่างๆ เช่น มอ เตอร์เอ็กซ์โป ว่าจะมีผลดีกับภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงสุดท้ายของปีแค่ไหน” นายวุฒิพงศ์กล่าว

          สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือน ต.ค.2563 มีสัญญาณทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวม โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงปลายปี

          ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชน มีสัญญาณชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ติดลบ 9.4% ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ชะลอตัวลง และปัจจัยฐานสูงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนโครงการกระตุ้นการบริโภคของรัฐอย่างโครงการคนละครึ่งนั้น คาดว่าจะส่งผลดีกับภาพรวมการบริโภคในเดือนถัดไป ขณะที่การบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถ ยนต์นั่ง ติดลบ 25.9% และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ติดลบ 11%

          นายวุฒิพงศ์กล่าวอีกว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 50.9 เนื่อง จากราคาขายปลีกน้ำมันในประ เทศปรับตัวลดลง รัฐบาลมีมาตร การเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 รวมถึงการออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจใน ช่วงปลายปี และราคาพืชผลทาง การเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ทำให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้มากขึ้น โดยรายได้เกษตรกรที่แท้จริงในเดือน ต.ค. ขยายตัว 12.6% ต่อปี

          นอกจากนี้ ภาพรวมการลงทุนของภาคเอกชนส่งสัญญาณส่งทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัว 10.4% ต่อปี เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุน ติดลบ 17% ต่อปี ส่วนการ ค้าระหว่างประเทศชะลอลงเล็กน้อย จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 6.7% ต่อปี ขณะที่เมื่อแยกรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า การส่งออกไปอา เซียน 9 ประเทศ ติดลบ 23.1% เนื่อง  จากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 รอบ 2 ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐขยายตัว 17% และ ทวีปออสเตรเลียขยายตัว 4.2%.

Reference:

Click icon to remove from or add to favorite list
Click to choose and click "Compare" button