ปตท.วาดฝัน5ปี อีอีซีไอ ปั้น ยูนิคอร์น แรกของไทย

30 Nov 2020 441 0

          ณัฐณิชา ดอนสุวรรณ
          กรุงเทพธุรกิจ

          การพัฒนา “วังจันทร์วัลเลย์” เพื่อเป็นเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EECi) เริ่มเมื่อปี 2559 หลังรัฐบาล ประกาศเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตามแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศไทย ภายใต้นโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” โดย กลุ่ม ปตท.วางเป้าหมายเป็น “เมืองนวัตกรรมของประเทศ”

          ”วังจันทร์วัลเลย์” เริ่มจาก บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เข้าไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบสาธารณูปโภค น้ำ ไฟฟ้า และถนน  ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 334 (บ้านบึง-แกลง) กิโลเมตรที่ 66 ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่ ห่างจากกรุงเทพฯ 160 กิโลเมตร

          ผ่านมา 5 ปี การพัฒนาโครงการพื้นฐานเฟส 1 คืบหน้า 95% ภายใต้งบ 3,000 ล้านบาท เสร็จต้นปี 2564 รองรับการเปิดบริการแก่พันธมิตรและผู้สนใจไตรมาส 3 ปีหน้า ซึ่งจะสร้าง ความเชื่อมั่นให้นักวิจัยและนักลงทุนทั่วโลก ยกระดับขีดความสามารถการวิจัย พัฒนาและ นวัตกรรมให้ทุกภาคส่วนของประเทศ พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

          เบญญาภรณ์ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ระบุว่า การพัฒนาใช้รูปแบบ Smart Natural Innovation Platform รองรับงานวิจัยและนวัตกรรม แบ่งเป็น 3 โซน คือ

          1.พื้นที่เพื่อการศึกษา(Education Zone) ปัจจุบันเกิดขึ้นแล้ว ผ่านการจัดตั้ง 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ถือว่าประสบความสำเร็จ มาก ทั้งแง่คุณภาพการศึกษาและเป็นที่จับตา ของต่างชาติ

          2.พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) จะเป็น Head office ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งพัฒนาเป็น ศูนย์วิจัยพัฒนานวัตกรรม (Smart Innovation Platform) ยกระดับด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด ปัจจุบันกำลัง สร้างอาคารวิจัยและนวัตกรรม คาดว่าจะเสร็จ ไตรมาส 3 ปี 2564

          สำหรับงานวิจัยของ สวทช.แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis), เมืองนวัตกรรมชีวภาพ (Bio Polis),  เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ (ARIPOLIS)

          และ SPACE InnopoLis จะเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย

          ”พื้นที่นวัตกรรมยังเหลืออีกเป็นร้อยไร่ เปิดพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์รองรับ 5G Play

          บริษัทเครือ ปตท.ได้เช่าพื้นที่ทำงานวิจัย และพัฒนานวัตกรรม นำโดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.สร้างศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม คาดว่าจะเสร็จปี 2565 ขณะที่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เช่าพื้นที่ทำโซลาร์ฟาร์ม ขนาด 0.5 เมกะวัตต์ จะเสร็จปี 2565

          ”พื้นที่นวัตกรรมยังเหลืออีกเป็นร้อยไร่ เราต้องร่วมมือกัน ที่ผ่านมามีพูดคุยกับเนสท์เล่ ถ้ามาก็เป็นการมาเช่าพื้นที่ เขาเก่งแปรรูปอาหาร และจีนที่คุยมีรถยนต์รุ่นใหม่เป็นรถไฟฟ้า ที่เขาเก่งอาจมาทดสอบยานยนต์ไร้คนขับ ส่วน ค่ายยุโรปสนใจ EEC แต่จะมา EECi หรือไม่ ต้องพูดคุยกันต่อ”

          ปตท.ได้ตั้งศูนย์ข้อมูลส่วนกลางและอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ วางโครงข่าย เชื่อมระบบอัจฉริยะ เพื่อบริหารจัดการเมือง พัฒนาอัจฉริยะได้มีประสิทธิภาพ และนำข้อมูล  มาวิเคราะห์ต่อยอดธุรกิจ โดยร่วมกับพันธมิตร เปิดพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์รองรับ 5G Play GroundและUAV (Unmanned Aerial Vehicle) Regulatory Sandbox ซึ่งนำร่องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยี 5G ให้พร้อมสำหรับการทดลอง ทดสอบนวัตกรรม รวมถึงการทดลอง ทดสอบ โดรน และระบบที่เกี่ยวข้อง

          3.พื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก ที่พักอาศัย และสันทนาการ (Community Zone ) จะ รองรับความเป็นอยู่ของนักวิจัยและครอบครัว นักเรียน นักศึกษา และผู้ประกอบการที่ทำงานในวังจันทร์วัลเลย์ ได้แก่ โรงเรียนนานาชาติ โรงแรมและที่พักอาศัย ศูนย์การค้าและนันทนาการ โดยเฟสแรก 150 ไร่ จะเปิดให้ผู้ประกอบการมาร่วมประมูลพัฒนาพื้นที่ในปี 2564 และจะพัฒนาแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการปี 2565

          ”ส่วนนี้สำคัญมากจะอำนวยความสะดวก และดึงนักวิจัยเข้าพื้นที่ ตอนนี้คุยกับค้าปลีก หลายราย แต่เป็นเมืองใหม่เขาคงคิดเยอะอยู่ เราคุยหลายรายทั้งเดอะมอลล์ เซ็นทรัล เครือ ONE BANGKOK จะเปิดเชิญชวนปีหน้า รูปแบบต้องเป็นอาคารสมัยใหม่ลักษณะ Smart ทุกอย่าง และปี 2565 ในพื้นที่น่าจะเห็น กิจกรรมต่างๆ คึกคักขึ้น”

          ปตท.เร่งสร้าง Ecosystem ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวกับ New S-Curve พร้อมหาพันธมิตรเพิ่มเติมคู่ขนานไปกับการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

          ปตท.ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 5 ปี ประเทศไทย จะสร้างบริษัทเทคโนโลยีที่เป็นยูนิคอร์น แห่งแรกเกิดขึ้นในประเทศ โดยบริษัททุกแห่ง ที่เป็นยูนิคอร์นต้องมีมูลค่าธุรกิจระดับ 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 30,000 ล้านบาท จากปัจจุบัน ทั่วโลกมียูนิคอร์นกว่า 200 แห่ง อยู่ในสหรัฐ 100 แห่ง ในจีน 50 แห่ง และในอาเซียน ทั้ง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ยังไม่มี

          ส่วนในไทยหวังว่าทุกภาคส่วนจะจับมือกัน สร้างนวัตกร สร้างผู้ประดิษฐ์ สร้างธุรกิจที่เติบโต เหมือนยูนิคอร์น และเชื่อมั่นว่า มีความเป็นไปได้ เพราะไทยมีการผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมทั้งมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และภาครัฐมีกลไกสนับสนุน

          ทั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีบทบาทส่งเสริมนวัตกรรมมีกลไกกองทุนที่จะช่วยผลักดันและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเติบโตขึ้นมา ขณะที่ ปตท.เป็นบริษัทใหญ่ มีซัพพลายเออร์ และลูกค้ามากก็จูงอุตสาหกรรมเข้ามา ในพื้นที่ได้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องจับมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

          ปัจจุบัน “วังจันทร์วัลเลย์” ได้รับการประกาศ เป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ จากสำนักงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ถือเป็นพื้นที่มีความพร้อม ในการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ

          ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมพร้อมรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคต  นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์
 

Reference:

Click icon to remove from or add to favorite list
Click to choose and click "Compare" button