ต่างชาติสนใจลงทุนนิคมอุตฯไทยจีนมาแรง!หนุนกำลังซื้ออสังหาฯ
บุษกร ภู่แส
กรุงเทพธุรกิจ
ไทยเดินหน้าเปิดประเทศตั้งแต่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นแรงกระตุ้นชั้นดี ให้ภาคอุตสาหกรรม! เมื่อนักลงทุนเดินทาง เข้ามาได้โดยไม่ต้องกักตัว เป็นโอกาส ในการมาดูพื้นที่และ “ตัดสินใจลงทุน” ได้สะดวกขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับอานิสงส์จากกำลังซื้อชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนที่เป็นความหวังในการ กระตุ้นตลาดให้ฟื้นตัว!!
ภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร คอลลิเออร์ส ประเทศไทย กล่าวว่า ธุรกิจพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่ค่อนข้างแข็งแกร่งและยังคงมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดการขายพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม 2 ปีที่ผ่านมาเติบโต อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่เขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ที่รัฐบาลพยายามผลักดัน อย่างเต็มที่ในช่วงที่ผ่านมา
โดยพบว่ายอดขายและการเช่าที่ดิน ส่วนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมายังคงอยู่ในพื้นที่ อีอีซีมากถึง 80.68% นอกอีอีซี 19.31% จะเห็นว่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี ได้รับความสนใจจากกลุ่มนักลงทุนจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยช่วง 9 เดือน ของปีงบประมาณ 2564 มีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ดังกล่าวสามารถปิดการขายไปกว่า 747.99 ไร่ หรือ คิดเป็น 80.70% ของอัตราการขายได้ทั้งหมดของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้งหมดในประเทศไทย
”ช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนจากประเทศจีน ยังคงให้ความสนใจมาลงทุนมากเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็น 15.15% รองลงมาคือ นักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น 12.12% สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐ 9.09% นอกจากนี้ยังได้รับความสนใจในการเช่า/ซื้อ พื้นที่ ในนิคมอุตสาหกรรม จากกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ และคลังสินค้า เนื่องจากความพร้อมของระบบสาธารณูปโภค และสิทธิประโยชน์ที่ตอบโจทย์นักลงทุน ส่งผลให้เกิด ความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนในการเลือก นิคมอุตสาหกรรมไทยเป็นฐานการผลิตของโลก”
ต่างประเทศปลายปี2564 จนถึงปี 2565 ดีขึ้น หลังสถานการณ์ในหลายประเทศเริ่มฟื้นตัว และเชื่อมั่นในจุดแข็งของประเทศไทยที่เป็น “แม่เหล็ก” ดึงดูดการลงทุนทำให้มี นักลงทุนต่างชาติสนใจซื้อ/เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้าที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะได้รับอานิสงส์เชิงบวก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับกระแสการย้ายการลงทุนออกจาก ประเทศจีนของกลุ่มนักลงทุนชาวจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐ มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังมีศักยภาพและความแข็งแกร่งในการรองรับการลงทุนเพื่อเป็นฐานและศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค โดยภาพรวมภาคการลงทุนจากต่างชาติในนิคมอุตสาหกรรมช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีนักลงทุนจากจีน ให้ความสนใจมาลงทุนมากเป็นอันดับหนึ่ง ถือเป็นสัญญาณที่ดี หลายฝ่าย อาจมองว่าจะเป็น “โอกาส” ที่กำลังซื้อ ชาวจีนจะเข้ามากระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตลาด ที่อยู่อาศัย แต่ต้องยอมรับว่าภาพรวมกำลังซื้อของนักลงทุนจีนกับอสังหาฯอาจจะ ไม่หวือหวาเหมือนช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มการลงทุนของไทยและจาก
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจีนบางส่วนยังคงให้ความสนใจอสังหาฯ ในเมืองไทยและเลือกลงทุนในโครงการคอนโดมิเนียมเป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จากยอดขายของ ผู้พัฒนาคอนโดมิเนียมรายใหญ่ อาทิ แสนสิริ ที่ยังคงได้รับความเชื่อมั่นในกลุ่มลูกค้า ชาวต่างชาติทำให้มียอดโอนกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ที่ดีอย่างต่อเนื่อง และกว่า 50% เป็นกลุ่มลูกค้า ชาวจีน จากยอดขายรวมกลุ่มลูกค้าต่างชาติ รองลงมา คือ กลุ่มลูกค้าชาวฮ่องกง คิดเป็น 30% และลูกค้าชาวไต้หวันและชาติตะวันตก เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส สหรัฐ ฯลฯ อีกประมาณ 20% เช่นเดียวกับ พฤกษา เรียลเอสเตท ที่มีมูลค่าการซื้อขายจากกำลังซื้อ ชาวจีนแล้วไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท และลูกค้าที่ซื้อไปไม่มีใครทิ้งดาวน์ และพร้อมโอน ทันทีหากสามารถเดินทางมาได้ โครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ที่ผ่านมายังคงได้รับความความสนใจจากกำลังซื้อต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวจีน เนื่องจากราคาขายของคอนโดมิเนียมในประเทศไทยเข้าถึงง่าย! ความคุ้นชินของคน ในประเทศต่อชาวจีน คุณภาพระบบสาธารณสุข และผลตอบแทนจากการลงทุนสูง 5-7% ต่อปี แม้ว่าปัจจุบันนี้อาจจะมีปัญหาติดขัดบ้าง แต่ผู้ประกอบการทุกรายให้ความสำคัญ กับลูกค้าจีนเพราะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มี ศักยภาพ
สำหรับทำเลยอดนิยมยังคงเป็นกรุงเทพฯ โดยเฉพาะย่านพระราม 9-รัชดาภิเษก สุขุมวิท อ่อนนุช นอกจากนี้นักลงทุนยังให้ความสนใจในเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอื่นๆ ในประเทศไทย เช่น พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต หัวหิน ชะอำ เป็นต้น
ต่างชาติสนใจซื้อ/เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจโลจิสติกส์และคลังสินค้าที่เติบโตก้าวกระโดดเพราะได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
Reference: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ