ขึ้นค่าโอน-ราคาประเมินที่ดินใหม่กดกำลังซื้อ-ผู้ประกอบการอ่วม
ส่องตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2566 กำลังซื้อชะลอตัว ผู้ประกอบการอ่วมเพราะมาตรการเพิ่มค่าโอนบ้าน จาก 0.01% เป็น 1% พุ่ง 100 เท่า ราคาประเมินใหม่เริ่มบังคับใช้
แหล่งข่าวอสังหาริมทรัพย์เปิดเผยว่า ปี 2566 กลับเข้าสู่วังวนเดิมอีกครั้งเมื่อรัฐบาลลดทอนมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ด้วยมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 โดย เฉพาะการปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมการโอน กรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจากที่เคยลดหย่อน 0.01% เป็น 1% (อัตราเต็ม 2%) จาก ปี 2565 เพิ่ม 100 เท่า เพราะการบังคับ ใช้ราคาประเมินที่ดินรอบใหม่ (2566 2569) ที่ใช้เป็นฐานเรียกเก็บด้วยแล้ว ทำให้ผู้บริโภคที่จะซื้อบ้านต้องจ่ายเงินเพิ่ม ทันที หลายฝ่ายมองว่าอาจเป็นระเบิดหรือ หลุมดำซ้ำเติม โดยไม่รวมถึงการยกเลิก มาตรการผ่อนผัน LTV (อัตราส่วนการ ให้สินเชื่อโดยเทียบกับมูลค่าหลักประกัน) การขึ้นดอกเบี้ยเชิงนโยบายสกัดเงินเฟ้อ อีกทั้งภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับกลุ่มที่อยู่ในข่าย ซึ่งล้วนมีผลต่อการตัดสินใจแทบทั้งสิ้น
นายมีศักดิ์ ชุนทรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ให้ความเห็นว่า ปี 2566 อาจเป็นปีที่ยากลำบากของภาคอสังหาฯ สะท้อนจากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลไม่เอื้อต่อตลาด สิ่งที่ทำได้คือความระมัดระวังในการเปิดโครงการ การจับตลาดที่มีกำลังซื้อเช่นกลาง-บน และการทำโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมของผู้ประกอบการเพื่อดึงกำลังซื้อมาตรการสนับสนุนภาครัฐ มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค ทางด้านอารมณ์ความรู้สึกที่แม้ว่ารัฐจะลดหย่อนเป็นตัวเงินให้ไม่มากก็เป็นจุดเปลี่ยนให้เกิดการตัดสินใจที่เร็วขึ้นได้ อย่างไรก็ตามที่น่าห่วงคือตั้งแต่ ไตรมาสที่ 3 ยอดขายชะลอตัวลงทั้งที่ขณะ นั้นยังมีมาตรการผ่อนผัน LTV ลดค่าโอน ฯลฯ ประเมินว่าเกิดจากกำลังซื้อน่าจะอ่อนแรง
นางพนิตาวดี ปราชญ์นคร รองอธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมารัฐได้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนฯ และจดจำนอง มาตั้งแต่ปี 2562-2565 เพื่อกระตุ้นภาคอสังหาฯ เช่นเดียวกับ รัฐบาลมีมาตรการลดภาษีที่ดินลงในช่วง สถานการณ์โควิดตั้งแต่ปี 2563-2564 ทำให้ท้องถิ่นจัดเก็บรายได้น้อยลง เมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลายเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในปี 2566 กรมที่ดินจึงของปรับขึ้น ค่าธรรมเนียมการโอนฯ สำหรับราคาบ้าน ไม่เกิน 3 ล้านบาท เพราะเห็นว่าตลาด อสังหาฯ เริ่มฟื้นตัวผู้ประกอบการเปิดตัวโครงการมากขึ้น ส่วนค่าจดจำนองยังคงอัตราเดิมที่ 0.01% จาก 1% เป็นเพราะประชาชนมีภาระเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นเชิงนโยบายอยู่แล้ว ทำให้ยังคงอัตราเดิม
Reference: หนังสือพิมพ์ดอกเบี้ยธุรกิจ