'แอสเซทไวส์'ต่อจิ๊กซอว์จากแคมปัสสู่'ALL GEN'รับสังคมสูงวัย
บุษกร ภู่แส
กรุงเทพธุรกิจ
นำเสนอสินค้า-บริการที่ตอบสนองความต้องการและไลฟ์สไตล์ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่มาของแนวคิดพัฒนาคอนโดรองรับผู้สูงอายุ ที่สามารถอยู่ร่วมกันกับคนหลายเจน ไม่ว่าเด็ก วันรุ่น คนทำงาน
กลายเป็นผู้เล่นอสังหาฯ ในตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว สำหรับ “แอสเซทไวส์” หลังเข้ามาบุกเบิกธุรกิจ 18 ปี ขณะที่รายได้ในปี 2564 รวม 5,034 ล้านบาท กำไรสุทธิ 951 ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่ นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
หลายปีที่ผ่านมา แอสเซทไวส์พัฒนา อสังหาฯ ทั้งที่อยู่อาศัยแนวสูง 3 แบรนด์หลัก ได้แก่ เคฟ (KAVE) คอนโดใกล้มหาวิทยาลัย, แอทโมซ (ATMOZ) โลว์ไรส์อยู่ในเมืองไม่ว่า จะเป็นรัชดา ลาดพร้าว โชคชัยสี่ ห้วยขวาง, แบรนด์ โมดิซ (MODIZ) คอนโดไฮไรส์ ติดแนวรถไฟฟ้า
หรือไฮไลท์ก่อนหน้านี้ คือการ รุก “คอนโด” โดยใช้ “ทางลัด” ซื้อโครงการ แม็กซี่ ไพร์ม รัชดา-สุทธิสาร มูลค่า 570 ล้านบาท ซึ่งเป็น คอนโดระดับกลาง-บน ตามด้วยการร่วมทุนกับ บริษัท ทาคาระ เลเบ็น จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของญี่ปุ่น เพื่อพัฒนา โครงการคอนโดร่วมกันประเดิมโครงการแรก ร่วมกันสัดส่วน 51% และ ทาคาระ เลเบ็น ถือหุ้นในสัดส่วน 49% มูลค่ากว่า 2,200 ล้านบาท บนทำเล NEW CBD ภายใต้โครงการ แอทโมซ บางนา ซึ่งเป็นคอนโดโลว์ไรส์ ย่านบางนาที่กำลัง เติบโต ใกล้รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว และ MRT สายสีเหลือง ติดถนนใหญ่เส้นบางนา-ตราด
กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจอสังหาฯ หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า โลเคชัน โลเคชัน และโลเคชัน สำหรับแอสเซทไวส์ลงรายละเอียดลึกกว่านั้นคือ ให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ เช่น เคฟ จะมี
สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สนองไลฟ์สไตล์ กลุ่มนักศึกษา เช่น ห้องคาราโอเกะ เกมส์รูม ห้องอ่านหนังสือ ห้องติว นอกเหนือจากนี้คงจะเป็นเรื่องของแพ็กเกจราคาที่แข่งขันได้ “ช่วงวิกฤติของที่ขายดีคือของดีที่ราคาไม่แพง ถ้าดีเวลลอปเปอร์ไหนยังสามารถพัฒนาได้จะได้เปรียบ แอสเซทไวส์ให้ สิ่งอำนวยความสะดวกจำนวนมากในระดับราคาล้านต้นๆ ไม่เกิน 2 ล้านบาท ทำให้สามารถไปต่อได้ในช่วงเวลาแบบนี้” หัวใจสำคัญที่ทำให้เติบโตต่อเนื่องคือการ นำเสนอสินค้า-บริการที่ตอบสนองความต้องการ และไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว หรือ “Speed to Market” จึงเป็นที่มาของแนวคิด พัฒนาคอนโดรองรับผู้สูงอายุที่สามารถ อยู่ร่วมกันกับคนหลายเจน ไม่ว่าเด็ก วันรุ่น คนทำงาน ภายใต้แนวคิด “ALL GEN” กรมเชษฐ์ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็น ดีเวลลอปเปอร์ต้องพัฒนาสินค้าและบริการให้ลูกค้าได้มีโอกาสทดลองว่าแบบไหนที่เหมาะและตอบโจทย์การใช้ชีวิต อาจจะทำถูก หรือผิด ก็ได้ ต้องกล้าที่จะลองถูกลองผิด ซึ่งถือหน้าที่ที่ต้องพัฒนาสินค้าออกมารองรับ กลุ่มผู้สูงอายุในอนาคต คาดว่า น่าเห็นโครงการต้นแบบปี 2566 หรือไตรมาส 4 ปีนี้ ถือเป็นจิ๊กซอว์ที่ 2 ต่อจาก จิ๊กซอว์แรก คือแคมปัสคอนโดภายใต้แบรนด์ “เคฟ” เพื่อสร้าง ความแข็งแกร่งให้กับแหล่งรายได้หลักของบริษัท ที่มาจาก คอนโดถึง 90%
ส่วนปี 2566 จะพัฒนาโครงการแนวราบ เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมีสัดส่วน 5-6%เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสเติบโต คาดปีหน้าสัดส่วนแนวราบเพิ่มขึ้น 20-30%
ในส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาฯ และเป็นรายได้ประจำ หรือ Recurring Income จะเป็นมอลล์ “มิงเกิ้ล มอลล์”(Mingle Mall) ที่แทรกเข้าไปอยู่ในคอนโดที่มีศักยภาพอย่าง คอนโดเคฟ ม.กรุงเทพ รังสิต มีสัดส่วน 4-5%
ส่วน Go Big ต่อจากนี้ คือ การแตกไลน์ ธุรกิจนอนอสังหาฯ เพื่อลดความเสี่ยงและสร้างรายได้แหล่งใหม่ ที่ สามารถปลั๊กอินต่อยอดกับอสังหาฯ ได้ ด้วยการตั้งบริษัท “ดับบลิวเอชบี” ที่ดำเนินด้านสุขภาพและความงามอีกบริษัทคือ “ดิจิโทไนซ์” เป็นการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ที่ไม่ควรมองข้าม! “ในอนาคตจะผลักดันแนวราบและอื่นๆ เพิ่มขึ้น สัดส่วนคอนโดลดลงเหลือ 60% แนวราบ 30% และรายได้อื่น 10% ค่อยๆ ปรับ ซึ่งไม่ใช่ เรื่องยาก เพราะโตมาจากแนวราบอยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญคือการหาที่ดินที่เหมาะสม คาดว่าปี 2566-2567 บ้านเดี่ยวจะรับรู้ รายได้ 10-15% “
ทั้งนี้เป้าหมายแอสเซทไวส์ 5 ปีข้างหน้า คือ มีมาร์เก็ตแคปขึ้นเป็นท็อปเท็น จากปัจจุบัน อยู่ที่ 13-15 แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ไม่ใช่เรื่องยาก จนเกินความสามารถ ส่วนยอดขายปีนี้ตั้งไว้ที่ 10,000 ล้านบาท เติบโต 13% และ มีรายได้รวมในปีนี้ที่ 6,000 ล้านบาท เติบโต 19% ตามเป้าหมาย
ปัจจุบันแอสเซทไวส์พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมและโครงการบ้านจัดสรรมาแล้ว กว่า 41 โครงการ ภายใต้แบรนด์ในเครือได้แก่ แบรนด์ เคฟ, แบรนด์ แอทโมซ, แบรนด์ โมดิซ, แบรนด์ เอสต้า และ แบรนด์ ดิ ออเนอร์ รวมมูลค่าโครงการกว่า 42,400 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและโครงการพร้อมอยู่ จำนวน 31 โครงการ และโครงการที่กำลังเปิดขายและอยู่ระหว่างการพัฒนา จำนวน 10 โครงการ โดยปัจจุบัน มียอดรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่ารวมกว่า 8,207 ล้านบาท โดยจะทยอยรับรู้รายได้ อย่างต่อเนื่อง
Reference: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ