เงินเฟ้อสูง-สินเชื่อบ้านยังเข้ม แบงก์หั่นความสามารถการก่อหนี้ลูกค้าชี้ 5 ธุรกิจเสี่ยงสูงยอดปฏิเสธยังพุ่ง
อสังหาริมทรัพย์
ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนถึงปัจจุบันทาให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟอที่มีแนวโน้มพุ่งสูงต่อเนื่อง และมีผลต่อแผนการใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่ได้ จนนำไปสู่การก่อหนี้เพิ่มขึ้น ทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจากผลสารวจสถานภาพแรงงานไทย กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างแรงงานไทยที่มีรายได้ต่ากว่า 15,000 บาทต่อเดือน ปี 65 โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและ ธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่าแรงงานไทยมีหนี้ถึง 99% ส่งผลให้ปี 65 นี้ ภาระหนี้ครัวเรือนปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.09% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทาให้แรงงานกว่า 31.5% มีการผิดนัดชาระหนี้จากสถาบันการเงิน
ปัจจัยที่เกิดขึ้นทำให้ความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะลดลงและมีผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ในระยะอันใกล้นี้ กำลังซื้อผู้บริโภคจะทยอยดีขึ้นโดยปัจจุบันสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลขการการปฏิเสธสินเชื่อยังคงสูงอยู่และยังมีแนวโน้มว่าจะสูงเพิ่มขึ้นไปอีก หลังสถานการณ์เงินเฟอทวีความรุนแรง มากขึ้น
นายสมนึก ตันฑเทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด(มหาชน) หรือ NCH กล่าวว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ ทำให้มีการลดการจ้างงาน ลดเวลางานล่วงเวลา และบางธุรกิจมีการลดเงินเดือนของพนักงานลง เพื่อประคองให้ธุรกิจอยู่รอด ทำให้รายได้ของผู้บริโภคลดลงไปด้วย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยเข้มงวดการพิสูจน์รายได้ของผู้ขอสินเชื่อบ้านอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะผู้ขอสินเชื่อที่ทำงานในกลุ่มธุรกิจเสี่ยงเช่น ผู้ที่ทำงานในธุรกิจท่องเที่ยว พนักงานขาย และพนักงานห้างสรรพสินค้า ฯลฯ
การเข้มงวดดังกล่าวทำให้ตัวเลขการปฏิเสธสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับสูง เพราะนอกจากการเข้มงวดในการพิสูจน์รายได้ผู้ขอสินเชื่อแล้ว แบงก์ยังประเมินความสามารถในการก่อหนี้ของผู้บริโภคลดลง เพราะมีการนำปัจจัยเสี่ยง รายจ่าย และภาระหนี้ต่างๆ เข้ามาร่วมประเมินและคำนวณวงเงินการอนุมัติสินเชื่อ การเข้มงวดดังกล่าวทำให้โอกาสถูกปฏิเสธสินเชื่อของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่มีรายได้ประจำหรือผู้ไม่ได้เป็นพนักงานประจำสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำธุรกิจส่วนตัว ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่มีประวัติการเงินในระบบ ปัญหาที่ เกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อบ้านจำนวนมาก ถูกปฏิเสธสินเชื่อและพับแผนในการซื้อที่อยู่อาศัยไป หรือบางส่วนต้องปรับแผนลดงบในการซื้อที่อยู่อาศัยลง
อย่างไรก็ตาม บริษัทอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ได้พยายามหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้บริโภคให้สามารถขอสินเชื่อบ้านได้ โดยเข้าไปให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาการพิสูจน์รายได้ของลูกค้าให้มีความชัดเจนเพื่อให้แบงก์อนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้แบ่งระดับความยุ่งยากในการแก้ปัญหาเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีประวัติทางการเงินที่ชัดเจน หรือกลุ่มที่มีประวัติการเงินในระบบแบงก์อย่างสม่ำเสมอ โดยกลุ่มแรกนี้ เป็นกลุ่มที่แก้ไขได้ง่ายที่สุด กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่มีประวัติการเงินในระบบแบงก์บางส่วน โดยกลุ่มนี้ จะแนะนำให้ทำการนำเงินฝากเข้าระบบอย่างสม่ำเสมอนาน 3-4 เดือนเพื่อให้มีประวัติการเงินที่ชัดเจน และกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่ไม่มีประวัติการเงินในระบบ ซึ่งเป็นกลุ่มที่แก้ปัญหายากที่สุด โดยมากเป็นกลุ่มที่มีธุรกิจของตัวเอง แต่ดำเนินธุรกิจการเงินแบบเงินสดทำให้ไม่มีประวัติการเงินในระบบ ดังนั้น กลุ่มนี้จึงต้องให้คำแนะนำมากกว่าทุกกลุ่ม และที่สำคัญในการพิสูจน์รายได้จำเป็นต้องมีการลงพื้นที่ไปตรวจสอบสถานที่ทำงานหรือประกอบธุรกิจ
”นอกจากนี้กลุ่มที่ติดปัญหาเครดิตบูโร ก็เป็นอีกกลุ่มที่แก้ไขยาก แต่ที่แก้ไขยากมากที่สุดคือกลุ่มผู้ที่เคยค้ำประกันผู้ก่อหนี้เสีย เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีประวัติหนี้เสียโดยไม่ได้เป็นผู้ก่อหนี้เสียด้วยตัวเอง เมื่อแบงก์บังคับให้จ่ายหนี้แทนหากมูลหนี้ต่ำบางรายยอมจ่ายเงินปิดหนี้ให้ แต่ในรายที่มีหนี้สูงก็ไม่ยินดีจะควักกระเป๋าจ่ายหนี้ ให้เพราะไม่ได้เป็นผู้ก่อหนี้เอง ดังนั้นกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่ม ที่แก้ปัญหายากที่สุด” นายสมนึกกล่าว
นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ จำกัด กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวทำให้ ธุรกิจต่างๆ ยังไม่ฟืนตัว สถานการณ์การลดจ้างงานพนักงาน ลดเงินเดือน กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ธนาคารนำมาไปใช้ประกอบการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย และมีผลต่อยอดการปฏิเสธสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และยังคงต่อเนื่องมาถึง ขณะนี้ สังเกตได้ว่ากลุ่มที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อส่วนใหญ่ จะทำงานในธุรกิจที่ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง โดยกลุ่มธุรกิจที่ถูกแบงก์ขึ้นลิสต์รายชื่อว่ามีความเสี่ยงสูง คือ 1. ธุรกิจการบิน 2. ธุรกิจท่องเที่ยว 3. ธุรกิจโรงแรม 4. ธุรกิจอสังหาฯ และ 5. ธุรกิจค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว โดย 5 กลุ่มนี้ คือ กลุ่มที่แบงก์ประเมินให้ความสามารถในการก่อหนี้ลดลงอย่างชัดเจน ดังนั้นโอกาสในการ ถูกปฏิเสธสินเชื่อจึงมีอยู่สูง
”นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญที่ทำให้กำลังซื้อในปัจจุบันของผู้บริโภคลดลงอย่างมากคือ การนำรายจ่ายทุกรายการมาหักกับรายได้ และยังนำภาระหนี้ทั้งหมดมาร่วมคำนวณและประเมินความสามารถในการก่อหนี้ของผู้บริโภค โดยเฉพาะการนำบัตรเครดิตมาร่วมคำนวณและประเมินรายจ่ายของผู้บริโภคด้วยทำให้ปัจจุบันยอดการปฏิเสธสินเชื่อยังมีอยู่สูง” นายสุรเชษฐ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อกำลังซื้อ ผู้บริโภคจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างความท้าทายส่วนนี้สูงก็มีแนวโน้มที่จะได้รับการอนุมัติสูง แต่ถ้าหาก ผู้กู้มีประวัติการชำระหนี้ไม่ดี ผ่อนชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดหรือมียอดค้างชำระหนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้คะแนนส่วนนี้ต่ำกว่าเกณฑ์จะส่งผลให้ธนาคาร/สถาบันการเงินมีแนวโน้มที่จะไม่อนุมัติสินเชื่อได้ ดังนั้น “การติดแบล็กลิสต์” จึงเป็นเพียงคำนิยามของผู้ที่มีประวัติในการผ่อนชำระหนี้ที่ไม่ดีหรือไม่เป็นไปตามข้อตกลงเท่านั้น
ประวัติหนี้เสีย เคลียร์อย่างไร
สำหรับประวัติธุรกรรมทางการเงินที่ดี ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการอนุมัติสินเชื่อซึ่งคนอยากมีบ้านไม่ควรมองข้าม ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ส่งผลให้ รายได้ผู้บริโภคผันผวนตามไปด้วย การซื้อบ้านและ คอนโดฯที่ถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างครอบครัวก็อาจสะดุดลงได้ หากผู้บริโภคยังมีหนี้สินมากเกินไป โดยประเด็นดังกล่าว ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ให้แนวทางการเตรียมความพร้อมทางการเงินเพื่อซ่อมประวัติหนี้เสียบนเครดิตบูโร และสร้างวินัยทางการเงินก่อนยื่นกู้ซื้อบ้านเพื่อปูทางในการซื้อบ้าน โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนประกอบด้วย
1. รู้เขารู้เรา เข้าใจสถานะเครดิตบูโร ผู้บริโภคควรตรวจสถานะเครดิตบูโรของตนก่อนจะยื่นขอกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดฯ เพื่อให้ทราบประวัติทางการเงินที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย หากมีประวัติเครดิตบูโรที่ดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการยื่นขอสินเชื่อมากขึ้น หรือกรณีที่มีประวัติการเงินที่ไม่ค่อยสวยงาม ผู้บริโภคจะได้สามารถวางแผนแก้ไขได้ทันท่วงที ปกติแล้วรายงานข้อมูลเครดิตจะเก็บข้อมูลเครดิตที่ได้จากธนาคารหรือสถาบันการเงินย้อนหลังเป็นเวลาไม่เกิน 36 เดือนหรือ 3 ปี โดยระบุสถานะบัญชีด้วยตัวเลขที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
* สถานะปกติ เจ้าของบัญชีมีการชำระสินเชื่อตามจำนวนยอดเงินปกติ ตรงตามเงื่อนไข และไม่มียอดค้างชำระ
* สถานะปิดบัญชี เจ้าของบัญชีได้ทำการชำระหนี้ตามยอดค้างหมดแล้ว
* สถานะในการพักชำระหนี้ เจ้าของบัญชีได้ทำการขอพักชำระหนี้ที่เคยมียอดค้างชำระหนี้ตามนโยบาย ของรัฐ
* สถานะในการค้างชำระหนี้ในระบบเกิน 90 วัน ซึ่งสถานะนี้ส่งผลเสียต่อเจ้าของบัญชี เนื่องจากมียอดค้างชำระหนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2. เติมเต็มวินัยจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ หาก ผู้บริโภคมีสถานะบัญชีเครดิตบูโรปกติ ขั้นตอนถัดมาคือควรวางแผนจัดการการเงินปัจจุบันให้เป็นระบบ โดยสรุปรายการภาระหนี้ทั้งหมดว่าเหลือจำนวนเท่าไร ใช้ระยะเวลาผ่อนชำระอีกนานเท่าใด ในระหว่างนี้มีเงินเหลือเพื่อเก็บออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหรือไม่ และประเมินว่าหากมีภาระในการผ่อนหนี้บ้านเพิ่มขึ้นมา สภาพคล่องทางการเงินจะอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้หรือไม่ ส่วนในกรณีที่มีประวัติผิดนัดชำระหนี้ ผู้บริโภคควรสรุปรายรับและรายจ่ายที่มีก่อนเพื่อวางแผนการเงินใหม่ และประเมินความสามารถในการชำระหนี้คงค้างตามกำลังที่ตนไหว จากนั้นจึงขอเจรจากับธนาคาร/สถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ หรือขอพักชำระหนี้ หรือขอชำระหนี้ตามจำนวนขั้นต่ำ เพื่อให้สามารถปิดบัญชีหนี้คงค้างทั้งหมดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และหยุดการสร้างหนี้ใหม่สักระยะควบคู่ไปกับเริ่มออมเงิน โดยคำนวณว่าหากต้องผ่อนชำระหนี้บ้านต่อเดือนเท่านี้จะกระทบกับแผนการใช้จ่ายเพียงใด และทดลองเก็บเงินค่าผ่อนบ้านสำรองไว้ประมาณ 3-6 เดือน เพื่อเป็นการซ้อมและเช็กความพร้อมก่อนเป็นหนี้จริง
3. เช็กสุขภาพการเงิน สร้างประวัติดีก่อนกู้ เมื่อ ผู้บริโภคเคลียร์ปัญหาหนี้คงค้างให้กลับมามีสถานะบัญชีปกติแล้ว หากต้องการยื่นกู้เพื่อขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย ควรเริ่มสร้างเครดิตใหม่ เช่น ขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเป็นต้องใช้และชำระเต็มวงเงินหรือตามข้อตกลงอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดชำระ เพื่อสร้างเครดิตประวัติดีขึ้นมาทดแทน หรือขอยื่นกู้ซื้อที่อยู่อาศัยร่วมกับคนในครอบครัวที่มีประวัติเครดิตบูโรที่ดี เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อ นอกจากนี้ ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนกู้ซื้อบ้าน/คอนโดฯ ว่า ฐานเงินเดือนที่มีนั้นสามารถขอวงเงินกู้สูงสุดได้เท่าไร เป็นการวางกรอบในการเลือกซื้ออสังหาฯ ในราคาที่ไม่สร้างภาระจนเกินกำลัง พร้อมเปรียบเทียบแคมเปญสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยและเงื่อนไขที่เหมาะสม และเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อมก่อนทำการยื่นกู้ แม้เครดิตบูโรจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ แต่การมีประวัติการเงินที่ดีก็ถือเป็นแต้มต่อสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้รับการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้น สถาบันการเงินมีเกณฑ์ในการพิจารณาจากหลายองค์ประกอบและมีนโยบายที่แตกต่างกันออกไป ข้อมูลเครดิตบูโรจึงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาเท่านั้น ไม่มีบทบาทกับการอนุมัติโดยตรงอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด และในกรณีที่กู้ไม่ผ่าน ผู้ยื่นกู้จะได้รับหนังสือชี้แจงเหตุผลที่ไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ผู้กู้สามารถนำมาใช้ปรับปรุงข้อมูลเพื่อแสดงศักยภาพในการผ่อนชำระ ก่อนจะขอยื่นกู้ใหม่อีกครั้งในอนาคตได้
Reference: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา