ทีดีอาร์ไอ ชง4แนวทาง หนุนพัฒนา อีอีซี ยั่งยืน

12 Jan 2022 429 0

           สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และมูลนิธิเสนาะ อูนากูล จัดสัมมนาออนไลน์หัวข้อ “การพัฒนา พื้นที่อย่างยั่งยืนภาคตะวันออก” พร้อม เปิดตัว “รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก ปี พ.ศ.2564”

          การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการพัฒนา ท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด และ ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรม  และปัจจุบันได้มีการต่อยอดเป็นเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

          ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูล กล่าวว่า ภาคตะวันออก เป็นพื้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่มีความพิเศษโดยเฉพาะทะเลที่มีความกว้าง สวยงาม และเชื่อมต่อทั่วทุกภูมิภาค อีกทั้ง มีการผลิตก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันออกอ่าวไทย โดยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ได้กำหนดให้โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด เป็นโครงการที่ใช้ต้นแบบจากญี่ปุ่นที่ใช้พื้นที่ ถมทะเลมาขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ

          นอกจากนี้ ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้าน ขนส่งและอุตสาหกรรม แต่มักเกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม เพราะเมืองอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเร็วกว่าที่รัฐบาลจะตามแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งเดิมมีแผนให้พัทยาเป็นเมืองหลวง ภาคตะวันออก แต่ปัจจุบันทำไม่ได้จึงต้องดูแล ให้ครบถ้วน โดยมูลนิธิฯ เห็นว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออก ควรพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งปัจจุบันมีกฎหมาย ดูแลเฉพาะด้านแล้วจึงน่าจะดีขึ้น

          ”กฎหมายดูแลทั้งมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ถือว่า มีครบถ้วน เราจึงเริ่มทำร่วมกับจิสด้าและ ทีดีอาร์ไอ นำคลังสารสนเทศมาบริหารจัดการ อย่างแท้จริง และทีดีอาร์ไอสามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจสังคมประเทศ จะเป็นเรื่องจริงหลักฐานจริง วิเคราะห์จริง โดยเฉพาะ ขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน”

          ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การเริ่มต้นพัฒนาอีอีซี ได้ต่อยอดจากอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยปัญหา สิ่งแวดล้อมได้พยายามแก้ไขมาตลอด โดยการ อยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจสังคมรวมถึงประชาชนจะต้องอาศัย 4 ประเด็นหลัก คือ

          1.นโยบายระดับชาติ เพราะการเลือก อุตสาหกรรมที่จะส่งเสริมโจทย์ คือ เปลี่ยนผ่าน อุตสาหกรรมที่เน้นทรัพยากรสู่นวัตกรรมและ ความคิดสร้างสรรค์ หรือการเกิดอุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) ให้เป็นอุตสาหกรรมดิจิทัล  โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล มาบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ปัญหาคือจะใช้พลังงานสูง ในขณะที่นโยบาย การ BCG (Bio-Circular-Green Economy) หากนำมาใช้ในภาคเกษตรกรรมอาจใช้น้ำเยอะ

          2.การบังคับใช้กฎหมาย เป็นเรื่องสำคัญ เพราะนโยบายทิศทางสามารถกำหนดได้ แต่มีความท้าทายเยอะ ดังนั้น กฎหมายจะเป็น หัวใจสำคัญในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง การพัฒนาผังเมืองต้องมีกฎหมายชัดเจน  การจัดการขยะอุตสาหกรรมที่เกินความสามารถ บริหารจัดการ แต่หากอนาคต 10 ปีข้างหน้า จะทำให้ขยะตกค้างหมดไป

          3.เทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ การป้องกัน ลักลอบทิ้งขยะ โดยที่ผ่านมาใช้ GPS ควบคุมรถสาธารณะเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุป้องกันการวิ่งนอกเส้นทางและควบคุมความเร็ว ดังนั้นต้องศึกษาเพื่อให้ป้องกันโรงงานลักลอบทิ้งขยะอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ และ กรมการขนส่งทางบก ต้องศึกษาหาทางติด GPS

          รวมทั้งในด้านของการเก็บข้อมูลควรให้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่มีข้อมูลการ ปล่อยของเสียอยู่แล้ว ควรนำมาเชื่อมต่อเข้ากับ ระบบข้อมูลอื่นเพื่อเป็นข้อมูลระดับชาติ

          4.การบูรณาการร่วมกัน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม โดยรัฐต้องเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลสำคัญทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ ซึ่งต้องกลไกการที่ประชาชนมีส่วน ช่วยรายงานแจ้งเบาะแสจะสำคัญมาก และรัฐต้องเปิดรับข้อเสนอแนะแม้รัฐมีข้อมูลที่เป็นทางการ แต่ควรนำเอาข้อมูลประชาชนร่วมพิจารณาด้วย

          สำหรับรายงานประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ การพัฒนาอีอีซีเพื่อการพัฒนายั่งยืน โดยเฉพาะ ด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ กรอบด้าน สิ่งแวดล้อมเพื่อเศรษฐกิจมั่งคั่งต้องกระจายความเจริญในสังคมดังนั้น สุขภาพต้องมาก่อน มุมมองพื้นที่สีเขียวทั้งในเมืองและชนบทต่างๆ การเข้าถึงการศึกษาที่ต้องได้รับการพัฒนา ดังนั้น การพัฒนาเพื่อเศรษฐกิจไปได้เร็วต้องนำอุตสาหกรรมมาช่วย

          อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการขยะที่มี ทั้งชุมชนและขยะอุตสาหกรรม จะต้องสร้างจิตสำนึก และนำเศรษฐกิจหมุนเวียนมาร่วมบริหารจัดการ พื้นที่อุตสาหกรรมต้องใช้น้ำ การจัดสรรทรัพยากรน้ำเดิมที่ใช้ภาคการเกษตร การใช้ในภาคอุตสาหกรรมจะต้องดูกลไกการคืนประโยชน์ให้เกษตรกรด้วย

          ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยกันพัฒนา ภาคตะวันออกที่เน้นความยั่งยืนทางด้าน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจสังคมและประชาชน เป็นสำคัญ ซึ่งการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาประกอบการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจโครงการต่างๆ

          การนำข้อมูลขนาดใหญ่มาร่วมวิเคราะห์ จะช่วยในการตัดสินใจโครงการต่างๆ ในอีอีซี ปกรณ์ อาภาพันธุ์

Reference:

Click icon to remove from or add to favorite list
Click to choose and click "Compare" button